31.12.53

บทที่ 6 พฤติกรรมต้นทุน และ การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร

บทที่ 6

พฤติกรรมต้นทุน และ การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร

ความหมายของการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณ และกำไร เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกำไรซึ่งเป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อกำไร

ข้อสมมติภายใต้การวิเคราะห์ CVP

1) พฤติกรรมต้นทุนและรายได้เป็นความสัมพันธ์แบบเส้นตรงภายในช่วงกิจกรรมหนึ่ง (Relevant Range)
2) รายการต้นทุนทุกรายการจัดเป็นต้นทุนผันแปรหรือต้นทุนคงที่เท่านั้น
3) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนมีเพียงปัจจัยเดียวคือการเปลี่ยนแปลงในระดับกิจกรรม
4) ไม่มีสินค้าคงเหลือต้นงวดและสินค้าคงเหลือปลายงวด
5) สัดส่วนการขายของสินค้าแต่ละชนิดคงที่

การแบ่งประเภทต้นทุน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ต้นทุนผันแปร ( Variable costs ) เป็นต้นทุนที่ผันแปรไปตามสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของจำนวนหน่วยการผลิต หรือระดับของกิจกรรม

2. ต้นทุนคงที่ ( Fixed costs ) เป็นต้นทุนที่มีลักษณะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม
3. ต้นทุนผสม ( Mixed costs ) เป็นต้นทุนที่มีลักษณะของทั้งต้นทุนคงที่กับต้นทุนผันแปรรวมกัน

องค์ประกอบของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณ และกำไร มีดังนี้

1. ปริมาณขาย ( Volume or Level of Activity )

2. ราคาขาย ( Unit selling Prices )

3. ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ( Variable Cost per Unit )

4. ต้นทุนคงที่รวม ( Total Fixed Costs )

5. สัดส่วนการขาย ( Sales Mix)

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกำไร สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้

1.กำไรส่วนเกิน (Contribution margin)
2.อัตรากำไรส่วนเกิน (Contribution margin ratio)
3.กำไรส่วนเกินต่อหน่วย (Contribution margin per Unit)

1.กำไรส่วนเกิน ( Contribution Margin: CM) คือ รายได้ส่วนที่เหลือหลังจากหักต้นทุนผันแปร สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

กำไรส่วนเกิน ( Contribution margin ) = ขาย (Sales) - ต้นทุนผันแปร (Variable costs) )

กำไรส่วนเกินดังกล่าว เป็นสิ่งที่นำไปชดเชยต้นทุนคงที่ ถ้ากำไรส่วนเกิน มากกว่า ต้นทุนคงที่ แสดงว่า กิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน แต่ถ้ากำไรส่วนเกินน้อยกว่าต้นทุนคงที่ แสดงว่า กิจการมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน

2. อัตรากำไรส่วนเกิน ( Contribution margin ratio ) เป็นอัตราส่วนระหว่างกำไรส่วนเกินหารด้วยยอดขาย ซึ่งกำไรส่วนเกินเกิดจากผลต่างระหว่างยอดขาย หักด้วย ต้นทุนผันแปร ดังสมการ

clip_image001อัตรากำไรส่วนเกิน = ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

3. กำไรส่วนเกินต่อหน่วย (Contribution margin per Unit) เป็นผลต่างระหว่างราคาขายต่อหน่วย หักด้วย ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ดังสมการ

กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

=

ราคาขายต่อหน่วย

-

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

(Contribution margin per Unit)

 

(Price per unit)

 

(Variable cost per)

ตัวอย่างที่ 1

บริษัทดาวเด่น จำกัด ทำการผลิตและขายรองเท้า ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามียอดการจำหน่ายรองเท้าจำนวน 1,000 คู่ ราคาขายคู่ละ 300 บาท ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยเท่ากับ 150 บาท ต้นทุนคงที่เท่ากับ 100,000 บาท จงหากำไรส่วนเกิน อัตรากำไรส่วนเกิน และกำไรส่วนเกินต่อหน่วย

กำไรส่วนเกิน = ขาย - ต้นทุนผันแปร

= (1,000 x 300) - (1,000 x 150)

= 300,000 - 150,000 บาท

clip_image002อัตรากำไรส่วนเกิน = ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

clip_image003 = 300 - 150

300

= 0.5 หรือ 50%

กำไรส่วนเกินต่อหน่วย = ราคาขายต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

= 300 - 150 = 150 บาท

จากการคำนวณกำไรส่วนเกิน อัตรากำไรส่วนเกิน และกำไรส่วนเกินต่อหน่วย แสดงให้เห็นว่า บริษัท ดาวเด่น จำกัด มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 50,000 บาท (150,000 -100,000)

clip_image004

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Analysis)

จุดคุ้มทุน (Break Even Analysis) เป็นระดับการผลิตหรือการขายระดับใดระดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดรายได้รวม (Total revenues) เท่ากับ ต้นทุนรวม (Total cost) นั่นคือ จุดที่ไม่มีผลกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงานในการคำนวณจุดคุ้มทุน สามารถคำนวณให้อยู่ในรูปของยอดขายเป็นจำนวนเงิน(บาท) หรือจำนวนหน่วยก็ได้โดยมีวิธีการคำนวณ 3 วิธี คือ 1.การใช้สมการ 2.การใช้กำไรส่วนเกิน 3.การใช้การวาดกราฟ

1.การใช้สมการ

clip_image005

clip_image006

หากต้องการหาจุดคุ้มทุนในรูปของยอดขายที่เป็นจำนวนเงิน (บาท) สามารถคำนวณได้จากการนำราคาขายต่อหน่วยมาคูณกับจำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุนจะได้เท่ากับ 300,000 บาท ( 50 x 6,000 ) หรือ คำนวณโดยใช้สมการหาจุดคุ้มทุนเป็นจำนวนบาท โดยแสดงต้นทุนผันแปรในรูปของร้อยละของราคาขายต่อหน่วย

จากตัวอย่างที่ 2 บริษัทดาวกระจาย จำกัด สามารถคำนวณหาต้นทุนผันแปรในรูปของร้อยละของราคาขายต่อหน่วยเท่ากับ 0.5 หรือ 50 % ( 3,000 บาท / 6,000 บาท )

clip_image008

2.การใช้กำไรส่วนเกิน

การคำนวณหาจุดคุ้มทุนในรูปของกำไรส่วนเกินนั้น กำไรส่วนเกินต้องเท่ากับต้นทุนคงที่รวม โดยสามารถคำนวณหาจุดคุ้มทุนได้ดังนี้

clip_image009

3.การวาดกราฟ

ในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนโดยการวาดกราฟ สามารถแสดงได้ 2 ลักษณะ คือ

1.กราฟต้นทุน ปริมาณ และกำไร (Costs – Volume – Profit Graph)
2.กราฟกำไร (Profit – Volume Graph)

- กราฟต้นทุน ปริมาณ และกำไร การวาดกราฟต้นทุน ปริมาณ และกำไร มีขั้นตอนดังนี้

1.วาดเส้นรายได้รวม โดยเริ่มจากศูนย์ และเพิ่มขึ้นด้วย ราคาขาย x หน่วยขาย
2.วาดเส้นต้นทุนคงที่ เส้นต้นทุนคงที่จะเท่ากันตลอด
3.วาดเส้นต้นทุนรวม หาได้จาก ต้นทุนรวม = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่
4.คำนวณจุดคุ้มทุน

- กราฟกำไร

ในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนโดยการวาดกราฟกำไรนั้น จะแสดงจุดคุ้มทุนรวมทั้งเน้นให้เห็นถึงส่วนกำไรหรือขาดทุนโดยกราฟกำไรจะแสดงเฉพาะเส้นกำไรโดยจุดคุ้มทุนจะเป็นจุดที่เส้นกำไรตัดกับแกน X และส่วน

กำไรหรือขาดทุนจะแสดงตามจำนวนระยะห่างระหว่างเส้นกำไรกับแกนX ณ ปริมาณขายระดับต่างๆ

ขั้นตอนการวาดกราฟกำไรมีดังนี้

1.แสดงจุดต้นทุนคงที่ ให้กำหนดหน่วยขายเป็น 0 หน่วย มีต้นทุนคงที่เท่าใด ก็แสดงจำนวนต้นทุนคงที่เท่านั้น โดยแสดงที่แกน Y ในด้านลบ

2.แสดงจุดกำไรหรือขาดทุน โดยสมมติปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ แล้วคำนวณกำไรหรือขาดทุนโดย กำไร(ขาดทุน) = รายได้รวม - ต้นทุนผันแปร – ต้นทุนคงที่

จากตัวอย่างที่ 2

บริษัทดาวกระจาย จำกัด ราคาขายของโทรทัศน์เครื่องละ 6,000 บาท ต้นทุนคงที่ต่อเดือนรวม 150,000 บาท และต้นทุนผันแปรต่อหน่วย 3,000 บาท
        - ปริมาณขายที่ 10 หน่วย
กำไร (ขาดทุน) = (10 หน่วย x 6,000 บาท) – (10 หน่วย x 3,000 บาท) – 150,000 บาท
= - 120,000 บาท
        - ปริมาณขายที่ 30 หน่วย
กำไร (ขาดทุน) = (30 หน่วย x 6,000 บาท) – (30 หน่วย x 3,000 บาท) – 150,000 บาท
= - 6,000 บาท

3.คำนวณจุดคุ้มทุน
4.แสดงส่วนกำไรและส่วนขาดทุน

clip_image010

ภาพที่ 1 กราฟต้นทุน ปริมาณ และกำไร

clip_image011

ภาพที่ 2 กราฟกำไร ( Profit - Volume Graph)

การกำหนดกำไรที่ต้องการ

การกำหนดกำไรที่ต้องการ เป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับการขายสินค้า ว่าควรขายให้ได้ปริมาณเท่าใดจึงจะได้รับกำไรตามที่คาดหวังไว้โดยการนำเอาหลักการของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนมาพิจารณาร่วมกับ

- การใช้สมการ
- การใช้กำไรส่วนเกิน
- การใช้กราฟ

1.การใช้สมการ การคำนวณหายอดขายที่ทำให้ได้กำไรที่ต้องการ สามารถใช้สมการดังนี้

ยอดขายหรือปริมาณขายที่ต้องการ = ต้นทุนผันแปรรวม + ต้นทุนคงที่ + กำไรที่ต้องการ

clip_image013

2.การใช้กำไรส่วนเกิน สามารถคำนวณได้ดังนี้

clip_image015

clip_image017

3.การใช้กราฟ

ในการวาดกราฟหาจุดคุ้มทุนจะเห็นได้ว่าในกราฟได้แสดงส่วนกำไรไว้แล้วซึ่งก็คือระยะห่างระหว่างเส้นรายได้รวมและเส้นต้นทุนรวม เมื่อกิจการต้องการกำไรจำนวนเท่าไรก็ใช้การหาส่วนต่างระหว่างเส้นรายได้รวมและเส้นต้นทุนรวมจนกระทั่งได้กำไรที่ต้องการ ก็จะทราบปริมาณขายหรือยอดขายที่จะก่อให้เกิดกำไรตามที่ต้องการ

จากการคำนวณหาปริมาณขายหรือยอดขายที่ก่อให้เกิดกำไรตามที่ต้องการจะเห็นได้ว่าจะใช้สมการหรือใช้กำไรส่วนเกินกำไรที่ต้องการนั้นจะเป็นกำไรก่อนหักภาษี หากกิจการกำหนดกำไรที่ต้องการเป็นกำไรที่ต้องการหลังหักภาษีการคำนวณกำไรก่อนหักภาษีโดยกำหนดกำไรหลังหักภาษี สามารถคำนวณได้ดังนี้

clip_image019

จากตัวอย่างที่ 2 สมมติให้บริษัทฯ ต้องการกำไรหลังหักภาษีเท่ากับ 140,000 บาท โดยอัตราภาษีเท่ากับ 30 %
ดังนั้นสามารถคำนวณปริมาณขายโดยการใช้สมการ ดังนี้

SX

= VX + FC + P

6,000X

= 3,000X + 150,000 + 140,000

 

1 - .30

3,000X

= 150,000 + 200,000

X

= 350,000 / 3,000 = 116.67 เครื่อง

การเปลี่ยนแปลงตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร

ในสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาขาย การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ รวมถึงปริมาณการขายอาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วย

จากข้อมูลเดิมของบริษัทดาวกระจาย จำกัด มีดังนี้
ราคาขายหน่วยละ 6,000 บาท ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย 3,000 บาท ต้นทุนคงที่รวม 150,000 บาท

จุดคุ้มทุนเดิม 50 เครื่อง หรือ 300,000 บาท

ตัวอย่างที่ 3 ถ้าบริษัทเปลี่ยนแปลงราคาขายโดยลดราคาลง 20 % ต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้น 40 % และต้นทุน

ผันแปรต่อหน่วยลดลง 20 % ดังนั้นจุดคุ้มทุนจะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

-ราคาขายเดิมเครื่องละ 6,000 บาท เปลี่ยนแปลงเป็น 4,800 บาท [6,000 – (6,000x20%)]
-ต้นทุนคงที่เดิม 150,000 บาท เปลี่ยนแปลงเป็น 210,000 บาท [150,000 + (150,000x40%)]
-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยเดิม 3,000 บาท เปลี่ยนแปลงเป็น 2,400 บาท [3,000 – (3,000x20%)]

สามารถคำนวณจุดคุ้มทุนใหม่ได้ดังนี้

clip_image021

ส่วนเกินที่ปลอดภัย (Margin of Safety)

ส่วนเกินที่ปลอดภัยจะแสดงผลต่างระหว่างยอดขายจริงกับยอดขายที่จุดคุ้มทุน หรือผลต่างระหว่างยอดขายที่คาดไว้ตามงบประมาณกับยอดขายที่จุดคุ้มทุน ส่วนเกินที่ปลอดภัยจะแสดงจำนวนที่รายได้จากการขายสามารถลดลงได้ก่อนที่จะเริ่มขาดทุน โดยทั่วไปส่วนเกินที่ปลอดภัยสามารถแสดงอยู่ในรูปของจำนวนเงินเป็นบาทหรือแสดงอยู่ในรูปของอัตราส่วน ดังสมการต่อไปนี้

clip_image023

จากตัวอย่างที่ 2 บริษัทดาวกระจาย จำกัด คำนวณจุดคุ้มทุนเป็นจำนวนบาทได้เท่ากับ 300,000 บาท สมมติเพิ่มเติมให้ยอดขายจริงเท่ากับ 500,000 บาท จงคำนวณส่วนเกินที่ปลอดภัยและอัตราส่วนเกินที่ปลอดภัย

ส่วนเกินที่ปลอดภัย = 500,000 - 300,000
= 200,000 บาท

อัตราส่วนเกินที่ปลอดภัย

clip_image024 = 500,000 - 300,000 = 40 %

500,000

จากการคำนวณแสดงให้เห็นว่ายอดขายของบริษัท ดาวกระจาย จำกัด สามารถลดลงได้ถึง 200,000 บาท ก่อนที่จะขาดทุนหรืออาจกล่าวได้ว่าในยอดขาย 100 บาท บริษัทดาวกระจายจำกัด มีส่วนเกินที่ปลอดภัย 40 บาท

ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operating Leverage)

หมายถึงความสามารถของกิจการในการเพิ่มกำไรสุทธิเมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นสามารถคำนวณจากสูตรได้ดังนี้

clip_image026

clip_image028

จากตัวอย่างข้างต้น บริษัททั้งสองมีโครงสร้างต้นทุนต่างกัน บริษัทที่มีโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ ซึ่งในที่นี้คือบริษัท ก.จะมีค่า OL สูงกว่าบริษัท ข สรุปได้ว่าโครงสร้างของต้นทุนของกิจการที่มีสัดส่วนต้นทุนคงที่สูง จะมีผลให้การเปลี่ยนแปลงในกำไรสูงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยอดขาย

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสำหรับกิจการที่ขายสินค้าหลายชนิด

ในกรณีที่กิจการขายสินค้าหลายชนิดการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะยุ่งยากกว่า เนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดมีต้นทุนต่างกัน ราคาขายต่างกัน รวมทั้งกำไรส่วนเกินต่างกัน นอกจากนี้จุดคุ้มทุนก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการขาย (Sales Mix) ด้วย ในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสำหรับกิจการที่ขายสินค้ามากกว่า 1 ชนิดนั้นจะใช้ กำไรส่วนเกินต่อหน่วยถัวเฉลี่ย ในการคำนวณหาจุดคุ้มทุน

ตัวอย่างที่ 4 บริษัทดาวเรือง จำกัด ทำการผลิตและขายสินค้า 2 ชนิด คือ เสื้อ และ กางเกง โดยมีข้อมูลการขายและผลิตต่อเดือนของสินค้าทั้ง 2 ชนิดดังนี้

clip_image030

clip_image032

7 ความคิดเห็น:

  1. ดูไม่ค่อยเห็นเลยแต่ก็ขอบคูณมากครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ23 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:38

    ขอบคุณมากคร๊ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2555 เวลา 20:42

    ได้คำตอบที่ตรงกับความต้องการบ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ก็ช่วยได้หลายอยู่คะ ขอบคุณที่สุดคะ

    ตอบลบ
  4. มีความรู้เพิ่มขึ้น ขอบคุนมาก

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ4 มกราคม 2557 เวลา 14:26

    อ่านแล้วเข้าใจขึ้นเยอะเลยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  6. แล้วถ้าเป็นกรณี
    ยอดขาย 2,000,000 บาท
    ต้นทุนผันแปร 25% ของยอดขาย
    ต้นทุนคงที่ 40% ของยอดขาย
    ภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% ของกำไสุทธิ
    จงคำนวนหายยอดขายที่จะทำให้กิจการมีกำไรสุทธิเท่ากับ50,000 บาท
    เราต้องหายังไง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ยอดขาย 2,000,000 บาท
      หัก ต้นทุนผันแปร 500,000 บาท
      กำไรส่วนเกิน 1.500,000 บาท
      หักต้นทุนคงที่ 800,000 บาท
      กำไรสุทธิ 700,000 บาท
      กำไรหลังหักภาษี 80 บาท กำไรก่อนภาษี 100 บาท
      ถ้ากำไร 700,000 บาท จะได้กำไรก่อนภาษี 87,500 บาท
      สูตร S=(TFC+I)หารCMR แทนค่า S = (800,000+87500)หารด้วย(1,500,000/2,000,000)=1,183,333 ถูกไหมครับ =..=

      ลบ