27.12.53

บทที่ 3 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน (Statement of changes in Financial Position)

บทที่  3
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
(Statement  of  changes in Financial  Position)

                        การดำเนินงานของธุรกิจมีผลทำให้  รายได้  ค่าใช้จ่าย  สินทรัพย์  หนี้สินและทุนของกิจการเปลี่ยนแปลงไป  ดังนั้นเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งจะมีการทำงบการเงินขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและฐานะของกิจการงบต่างๆ  ที่ธุรกิจจัดทำขึ้นมีดังต่อไปนี้คือ
                        1.  งบกำไรขาดทุน  (Income  Statement)  เป็นงบที่แสดงการเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดจากการดำเนินงานในงวดบัญชีหนึ่ง  ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเรียกว่ากำไรสุทธิถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเรียกว่าขาดทุนสิทธิ
                        2.  งบดุล  (Balance  Sheet)  เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงฐานะการเงินของกิจการ  ณ  วันใดวันหนึ่ง โดยจะแสดงถึง  สินทรัพย์  หนี้สิน  และทุนของกิจการ
                        3.  งบกำไรสะสม  (Retained  Earning  Statement)  เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสมในงวดบัญชีนั้น
                        งบการเงินที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และส่วนของเจ้าของรวมถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น  ดังนั้นนักบัญชีจึงได้มีความเห็นให้จัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินเป็นงบการเงินอีกงบหนึ่งเพื่อเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมกับงบการเงินดังกล่าวข้างต้น
                                การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินสามารถจัดทำให้  2 เกณฑ์คือ  เกณฑ์เงินทุนหมุนเวียน  และเกณฑ์เงินสด  เพราะคำว่าเงินทุน  (Funds) มีความหมาย หมายถึง เงินสด (Cash) และทุนหมุนเวียน  (Working  Capital
1.  วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
            1.  เพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งเงินทุนที่ได้มาของกิจการจากการดำเนินงานและแหล่งเงินทุนอื่นๆ  ที่ได้มาในระหว่างงวดดำเนินงาน
            2.  เพื่อแสดงรายละเอียดการใช้ไปของเงินทุนระหว่างงวดดำเนินงาน
            3.  เพื่อเปิดเผยถึงสาเหตุและจำนวนเงินของการเปลี่ยนแปลงใดๆ  ในงบแสดงฐานะการเงินระหว่างงวดดำเนินงาน
2.  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามเกณฑ์ทุนหมุนเวียน  (Working  Capital  Basis)
                        โดยปกติกำไรจากการดำเนินงานจะมีความสำคัญต่อธุรกิจมาก  แต่มีปัจจัยอื่นๆ  ที่มีผลกระทบที่ให้ผลของการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  เช่น กิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่สูง  แต่ในขณะเดียวกันฐานะของเงินทุนหมุนเวียนกลับต่ำลง  เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกิจการอยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว  ทำให้กิจการขากความคล่องตัวในการดำเนินงานกิจการอาจจำเป็นต้องไปก่อหนี้เพิ่มเพื่อความคล่องตัวให้กับกิจการหรือบางครั้งกิจการมีผลกำไรสูงไม่ได้หมายความว่า  เงินทุนที่กิจการใช้หมุนเวียนจำนวนมากเป็นผลกำไรเงินทุนหมุนเวียนเหลือน้อยลง  เช่น  การซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด  เป็นต้น
                        เงินทุนหมุนเวียน  (Working  Capital)  หรือ  เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ  (Net  Working  Capital)  หมายถึง  ผลต่างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ  ในการดำเนินกิจการเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นที่สนใจของฝ่ายบริหาร  เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของกิจการ  ดังนั้นในการดำเนินงานปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียนจึงมีผลต่างฐานะการเงินของกิจการอย่างมาก
                        ในการจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามเกณฑ์เงินทุนหมุนเวียนจะต้องจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนขึ้นก่อนที่จะจัดทำงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
          2.1  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน  (Statement of Changes in Working Capital)
                งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน  เป็นงบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์หมุนเวียน  และหนี้สินหมุนเวียนในงวดบัญชีหนึ่งๆ  มีวิธีทำดังต่อไปนี้
            1.  นำสินทรัพย์หมุนเวียน  และหนี้สินหมุนเวียนในวันต้นงวดกับวันสิ้นงวดมาเปรียบเทียบกัน
            2.  จากข้อ  1  คำนวณหาว่ามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง  และมีผลต่อเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
            3.  เปรียบเทียบเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นกับเงินทุนหมุนเวียนที่ลดลงและสรุปผลว่าเงินทุนหมุนเวียนสำหรับปีปัจจุบันเพิ่มขึ้น  หรือลดลง
            จากความหมายที่ว่าเงินทุนหมุนเวียน  หมายถึง  ผลต่างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน  ดังนั้นจะสรุปได้ว่า
            เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเนื่องจาก               -  สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
                                                                        -  หนี้สินหมุนเวียนลดลง
            เงินทุนหมุนเวียนลดลงเนื่องจาก                 -  สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง
                                                                        -  หนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

รูปแบบงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
บริษัท....................จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด.....................สิ้นสุด.........................
                                                                                                                                                        เงินทุนหมุนเวียน
                                                                                                25…                       25….             เพิ่มขึ้น         ลดลง
สินทรัพย์หมุนเวียน
            ............................                                xxx                         xxx                         xx
            ............................                                           xxx                   xxx                                   xx
            ............................                                           xxx                         xxx                                  xx
            ............................                                           xxx                         xxx                                             xx
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                                     xxx                         xxx
หนี้สินหมุนเวียน
            ............................                                xxx                         xxx                         xx
            ............................                                           xxx                   xxx                   xx
            ............................                                           xxx                         xxx                                   xx
รวมหนี้สินหมุนเวียน                                                          xxx                   xxx                  
เงินทุนหมุนเวียน                                                                                 xxx                         xxx
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น  หรือลดลง                                                                        xxx  หรือ  xxx
                                                                                                                                                                xxx          xxx



โจทย์ตัวอย่างที่  1
            บริษัท  ปิ่นมณี  จำกัด  แสดงงบกำไรขาดุทนประจำปี  2540  และงบดุลเปรียบเทียบ  ณ  วันที่  31  ธันวาคม  2539  และ  2540  ดังนี้

บริษัท  ปิ่นมณี  จำกัด
งบกำไรขาดทุน
                                         สำหรับงวด  1  ปี  สิ้นสุด 31  ธันวาคม  2540                      บาท

ขายสุทธิ                                                                                                                                                                   232,700
ต้นทุนขาย                                                                                                                                                               136,600
กำไรขั้นต้น                                                                                                                                                               96,100
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน                                                                                                             60,700
กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน                                                                                                35,400
ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร                                                                                                                        2,550
                                                                                                                                                                                    32,850
ดอกเบี้ยจ่าย                                                                                                                          500
กำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้                                                                                                         32,300
ภาษีเงินได้                                                                                                                                                                12,150
กำไรสุทธิ                                                                                                                             20,150
บริษัท  ปิ่นมณี  จำกัด
งบดุล
ณ  วันที่  31  ธันวาคม  2539  และ  2540                   บาท
                สินทรัพย์                                                         2539                      2540
เงินสด                                                                                                                    16,205                                   17,935
เงินลงทุนชั่วคราว                                                                                                                10,500                                   17,310
ลูกหนี้                                                                                                                     23,615                                   25,710
สินค้าคงเหลือ                                                                                                       25,685                                   26,930
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า                                                                                                                 1,120                                      1,675
ที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์ (สุทธิ)                                                                  24,250                                   41,700
รวมสินทรัพย์ทั้งสิ้น                                                                                          101,375                                131,260
            หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เงินกู้ธนาคาร  (ชำระภายใน  50  วัน)                                                            15,000                                   12,500
เจ้าหนี้                                                                                                                    23,810                                   23,420
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ค้างจ่าย                                                                                        4,240                                      4,365
ตั๋วเงินจ่าย  (ครบกำหนด 1 ม.ค. 2543)                                                             -                                         20,000
หุ้นสามัญ                                                                                                               30,000                                   30,000
กำไรสะสม                                                                                                            28,325                                   40,975
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                     101,375                                131,260


ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
            1.  ในระหว่างปี  2540  ขายสินทรัพย์ถาวรส่วนหนึ่ง  ราคาทุน  10,200  บาท  มีค่าเสื่อมราคาสะสม  7,400  บาท
            2.  ค่าใช้จ่ายดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนรวมค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร  จำนวน 4,250  บาท
            3.  ในระหว่างปี  2540  จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด  7,500  บาท

ตัวอย่างงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
บริษัท  ปิ่นมณี  จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด  1  ปี สิ้นสุด  31  ธันวาคม   2540           
                                                                   2539            2540            เพิ่มขึ้น           ลดลง
สินทรัพย์หมุนเวียน                                            
เงินสด                                                                    16,205                   17,935                   1,730
เงินลงทุนชั่วคราว                                                                10,500                   17,310                   6,810
ลูกหนี้                                                                     23,615                   25,710                   2,095
สินค้าคงเหลือ                                                       25,685                   26,930                   1,245
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า                                                                  1,120                      1,675                      555
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                     77,125                   89,560
หนี้สินหมุนเวียน
เงินกู้ธนาคาร  (ชำระภายใน  50  วัน)            15,000                   12,500                   2,500
เจ้าหนี้                                                                    23,810                   23,420                      390
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ค้างจ่าย                                        4,240                       4,365                                                   125
รวมหนี้สินหมุนเวียน                                          43,050                   40,285
เงินทุนหมุนเวียน                                                 34,075                   49,275
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น                                                                           ...........             15,200
                                                                                                            15,325                   15,325
พิสูจน์
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ   (สินทรัพย์หมุนเวียน40-39) – (หนี้สินหมุนเวียน40-39)
                                                =   (89,560-77,125)- (40,285-43,050)
                                                = 12,435 – (-2,765)
                                                =  15,200
                                จากงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน  แสดงให้เห็นถึงเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,200  บาท  แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเงินทุนหมุนเวียนได้มาอย่างไร  และใช้ไปอย่างไรในระหว่างปี

          2.2 งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน (Statement of Sources and Application of Funds)
                งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน  เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนที่กิจการมีอยู่  และแสดงการใช้เงินทุนหมุนเวียนของกิจการ  มีวิธีทำดังต่อไปนี้
            1.  เลือกพิจารณาเฉพาะที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์  (สินทรัพย์ถาวร)  หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน  หนี้สินระยะยาว  และส่วนของเจ้าของ
            2.  วิเคราะห์รายการที่มีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน  โดยพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด  งบดุลเปรียบเทียบ  และข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยดูว่ามีรายการใดบ้างที่ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
                3.  จัดทำงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน  โดยนำรายการที่วิเคราะห์ได้ว่ามีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนซึ่งแบ่งเป็น
            3.1  รายการที่มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น  (แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน)
            3.2  รายการที่มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง  (แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน)
            3.  ผลที่ได้จากงบนี้คือ  เงินทุนหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงซึ่งจะเท่ากับงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน

สาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงินทุนหมุนเวียนของงบนี่จะเกิดจาก
            1.  เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
                        -  ที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์  (สินทรัพย์ถาวร)  หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง
                        -  หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
            2.  เงินทุนหมุนเวียนลดลงเนื่องจาก
                        -  ที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์  (สินทรัพย์ถาวร)  หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
                        -  หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของลดลง
แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน  (Sources  of  Funds)
            แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน  สามารถแบ่งได้ดังนี้
            1.  เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากการดำเนินงาน  หมายถึง  กำไรสุทธิของกิจการ
            2.  เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากการขายสินทรัพย์ถาวร  และสินทรัพย์อื่น เช่น  การขายสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด  การขายเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด  เป็นต้น
            3.  เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากหนี้สินระยะยาวและหนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น  เช่น  การกู้ยืมระยะยาวเป็นต้น
            4.  เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น  เช่น  การขายหุ้นสามัญเป็นเงินสดและการลงทุนเพิ่ม  เป็นต้น

แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน (Uses  of  Funds)
            แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน  สามารถแบ่งได้ดังนี้
            1.  เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการดำเนินงาน  หมายถึง  ขาดทุนสุทธิของกิจการ
            2.  เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร  และสินทรัพย์อื่น  เช่น ซื้อที่ดิน อาคาร  รถยนต์  เป็นเงินสด  การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวร  (เงินสดที่จ่ายเพิ่ม)  เป็นต้น
            3.  เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการชำระหนี้สินระยะยาว  หรือหนี้สินอื่นลดลง เช่น  การชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว  การชำระหนี้ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว  การไถ่ถอนหุ้นกู้  เป็นต้น
            4.  เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากส่วนของเจ้าของลดลง  เช่น  การซื้อหุ้นกลับคืน  การประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด  การถอนใช้ส่วนตัว




          รายการที่ไม่มีผลกระทบเงินทุนหมุนเวียน
1.  การคำนวณกำไรสุทธิที่มีผลต่อเงินทุนหมุนเวียน
            กำไรสุทธิจากการดำเนินงานจะมีค่าใช้จ่ายรายได้บางรายการที่ไม่ได้ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง  แต่ถูกนำมาหักหรือนำมาบวกเพื่อหากำไรสุทธิประจำงวด  ซึ่งจะต้องปรับปรุงโดยการทำรายการที่ไม่มีผลกระทบเงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวบวกคืนกำไรสุทธิหรือหักยอดกำไรสุทธิ  ซึ่งรายการมีดังต่อไปนี้
            1.1  ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร  ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรจะเป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน  แต่เป็นค่าใช้จ่ายประเภทที่ไม่ได้จ่ายเงิน  ดังนั้นจะต้องนำค่าเสื่อมราคาบวกคืนกำไรสุทธิ
            1.2  การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากบัญชี  รายการนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน  เช่น  การจัดจำหน่ายค่าความนิยม  การตัดจำหน่ายสิทธิบัตรฯลฯ  ค่าใช้จ่ายประเภทไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด  ดังนั้นจะต้องนำรายการเหล่านี้บวกคืนกำไรสุทธิ
            1.3  กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร  หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช้สินทรัพย์หมุนเวียนรายการนี้จะแสดงเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนทำให้กำไรสุทธิของกิจการเพิ่มขึ้นเท่ากับผลกำไรดังกล่าว  ดังนั้นจะต้องนำรายการนี้หักออกจากกำไรสุทธิเพราะผลกำไรได้รวมอยู่ในแหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนซึ่งแสดงเป็นรายการหนึ่งอยู่แล้ว
            1.4  ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร  หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช้สินทรัพย์หมุนเวียน  รายการนี้จะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแต่เป็นค่าใช้จ่ายประเภทไม่ได้จ่ายเงินสด  ดังนั้นจะต้องนำรายการนี้บวกคืนกำไรสุทธิ
                                    +  ค่าเสื่อมราคา
กำไรสุทธิ
 
                                    +  การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
                                    +  ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร  หรือสินทรัพย์อื่น
                                    -  กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร  หรือสินทรัพย์อื่น

2.  การตีราคาสินทรัพย์ให้สูงขึ้น  หรือลดลง
            กิจการโดยทั่วไปบางครั้งในระหว่างปีอาจมีการตีราคาสินทรัพย์ให้สูงขึ้นหรือลดลงเพื่อปรับให้เหมาะสมกับราคาตลาด  เช่น  การตีราคาที่ดินให้สูงขึ้น การตัดจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี  โดยนำไปปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสม  เช่น
            -  กิจการตีราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  1,000,000  บาท  จะบันทึกบัญชี
            Dr.  ที่ดิน                                   1,000,000 
                        Cr. กำไรสะสม                                        1,000,000 
                -  การจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี  50,000  บาท
            Dr.  ค่าความนิยมตัดจำหน่าย                    50,000
                        Cr.   กำไรสะสม                                      50,000
            จะเห็นว่าการนำรายการปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสมจะไม่กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนดังนั้นรายการเหล่านี้จะไม่นำมาแสดงในงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
3.  การเปลี่ยนแปลงของบัญชีประเภทไม่หมุนเวียน  ที่มีผลทำให้บัญชีประเภทไม่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
            บัญชีประเภทไม่หมุนเวียน  ได้แก่  สินทรัพย์ถาวร  สินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช้สินทรัพย์หมุนเวียน  หนี้สินระยะยาว  และส่วนของเจ้าของ  เช่น  การจ่ายหุ้นปันผล  การออกหุ้นเพื่อแลกสินทรัพย์ถาวร  ฯลฯ  เป็นต้น
รูปแบบงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน

บริษัท...............
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด..................สิ้นสุด................
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
            จากการดำเนินงาน:
            กำไรสุทธิ                                                                                                                                xx
                บวก      ค่าใช้จ่ายประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่ใช่เงินสด :-
                        -  ค่าเสื่อมราคา                                                                   xx
                        -  ค่าใช้จ่ายตัดบัญชีกำไรขาดทุน (สินทรัพย์อื่น)                           xx
                        -  ผลขาดทุนจากการขาย แลกเปลี่ยน เลิกใช้
                            สินทรัพย์ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว                                 xx            xx            xx
                หัก        รายได้ประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่ใช่เงินสด :-
                        -  ผลกำไรจากการขาย แลกเปลี่ยน เลิกใช้
    สินทรัพย์ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว                                             xx            xx
            จากแหล่งอื่นๆ :
                                ขายเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด                                          xx
                        ขายสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด                                               xx
                        กู้ยืมระยะยาว                                                                   xx
                        ขายหุ้นสามัญเป็นเงินสด                                                     xx
                        ลงทุนเพิ่ม                                                                       xx            xx                         xxx
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
                ซื้อเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด                                                                          xx
            ซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด                                                                                xx
            แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวร (เงินสดที่จ่ายเพิ่ม)                                                   xx
            จ่ายชำระเงินกู้ระยะยาว                                                                                          xx
            จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด                                                                                      xx
            ถอนใช้ส่วนตัว                                                                              xx                                 xxx
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง                                                                                                           xxx

ตัวอย่างงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน  จากโจทย์ตัวอย่างที่ 1 บริษัท ปิ่นมณี จำกัด
บริษัท ปิ่นมณี จำกัด
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
         จากการดำเนินงาน:
         กำไรสุทธิ                                                                                            20,150
            บวก   ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร                   4,250
                  ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร            2,550                 6,800             26,950
            จากแหล่งอื่น:
            ขายสินทรัพย์ถาวร                                                                                                          250                                                     กู้ยืมระยะยาว (ออกตั๋วเงินจ่าย)                                                                               20,000             47,200                                                                    
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
         ซื้อสินทรัพย์ถาวร                                                                                                       24,500            
         จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด                                                                                            7,500                 32,000
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น                                                                                                   15,200      
        
         การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงระหว่างปี 2540 จะเลือกพิจารณาเฉพาะรายการสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ดังนี้
1.              เงินทุนหมุนเวียนจากการดำเนินงาน ได้จากกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้จำนวน 20,150 บาท ต้องปรับปรุงโดยการ บวกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร จำนวน 4,250 บาท และขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวรจำนวน 2,250 บาท เมื่อคำนวณแล้วจะได้แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 26,950 บาท
2.              ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) ในปี 2539 จำนวน 24,250 บาท แต่ในปี 2540 มีจำนวน 41,700 บาท เปลี่ยนเพิ่มขึ้น แสดงว่าต้องมีการซื้อสินทรัพย์ถาวรระหว่างปี จากข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้สินทรัพย์ถาวรได้มีการขายไปบางส่วนระหว่างปี ดังนั้นจะต้องคำนวณหาราคาขาย และราคาซื้อสินทรัพย์ระหว่างปีดังนี้
            การคำนวณราคาขายสินทรัพย์ถาวร
               ราคาทุนสินทรัพย์ถาวร                                                          10,200
               หัก  ค่าเสื่อมราคาสะสม                                                           7,400
               ราคาตามบัญชี                                                                           2,800
               หัก  ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร                                 2,550
               ราคาขาย                                                                  250
         การคำนวณราคาซื้อสินทรัพย์ถาวร
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ)
2540
ม.ค. 1   ยอดยกมา                                 24,250
ม.ค.- ธ.ค.  เงินสด หรือ เจ้าหนี้ (ซื้อ)          24,500
                                                                            ..........
                                                        48,750
2540
ม.ค.- ธ.ค.  เงินสด หรือลูกหนี้(ขาย)             2,800
ธ.ค. 31       ค่าเสื่อมราคา                        4,250
                      ยอดยกไป                          41,700
                                                                          48,750
            จากการคำนวณจะได้ราคาขายสินทรัพย์ถาวร 250 บาท รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 250 บาท ราคาซื้อสินทรัพย์ถาวร 24,500 บาท รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง 24,500 บาท
3.              ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (ครบกำหนด 1 มกราคม 2543) ในปี 2540 มีจำนวน 20,000 บาท แสดงว่ากิจการกู้ยืมโดยออกตั๋วเงินจ่าย รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 20,000 บาท
4.              หุ้นสามัญ ในปี 2539 และในปี 2540 มีจำนวนเท่ากันคือ 30,000 บาท แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหุ้นสามัญ รายการนี้ไม่มีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน
5.              กำไรสะสม ในปี 2539 จำนวน 28,325 บาท และในปี 2540 จำนวน 40,975 บาท สามารถวิเคราะห์ดังนี้
               กำไรสะสมต้นงวด                                           28,325
               บวก  กำไรสุทธิ                                                20,150
                                                                                           48,475
               หัก   กำไรสะสมปลายงวด                             40,975
               จ่ายเงินปันผล                                      7,500                                                   หรือ
กำไรสะสม
2540
ม.ค.- ธ.ค.  จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด           7,500
ธ.ค. 31       ยอดยกไป                           40.975
                                                        48,475
2540
ม.ค.1           ยอดยกมา                             28,325
ธ.ค. 31       กำไรสุทธิ                            20,150
                                                                          48,475


จากการคำนวณการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 7,500 บาท จะมีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง 7,500 บาท
โจทย์ตัวอย่างที่ ต่อไปนี้เป็นงบดุลเปรียบเทียบของบริษัท ปานเทพ จำกัด สำหรับปี 2539 และ 2540
บริษัท  ปานเทพ  จำกัด
งบดุล
ณ  วันที่  31  ธันวาคม  2539  และ  2540                   บาท
                                                                                   2539                      2540
สินทรัพย์
เงินสด                                                                                                                    30,400                                   36,400
เงินลงทุนชั่วคราว                                                                                                                23,600                                   30,000
ลูกหนี้                                                                                                                     44,800                                   52,800
สินค้า                                                                                                                     40,200                                   38,400
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า                                                                                                                 1,800                                      2,400
ที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์ (สุทธิ)                                                                  42,400                                   65,600
                                                                                                                             183,200                                225,600
            หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เจ้าหนี้                                                                                                                    17,600                                   16,400
ตั๋วเงินจ่าย (ธนาคาร)                                                                     3,000                                      6,000
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                                                                                   6,600                                      5,400
เงินปันผลค้างจ่าย                                                                                      3,000                                     6,000
ตั๋วเงินจ่าย  (ครบกำหนด 1 มิ.ย. 2545)                                                             -                                         18,000
ทุนหุ้นสามัญ                                                                                                      100,000                                 100,000
กำไรสะสม                                                                                                            53,000                                   73,800
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                     183,200                                225,600
 ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างปี 2540
1.              เงินลงทุนชั่วคราวไม่มีการไถ่ถอนในระหว่างปี
2.              สินทรัพย์ถาวรไม่มีการขายในระหว่างปี แต่มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติมในปี2540 จำนวน 26,800 บาท
3.              บริษัทจ่ายเงินปันผลจ่ายเป็นเงินสด 24,000 บาท
บริษัท  ปานเทพ  จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด  31  ธันวาคม  2540                   บาท
                                                                                          เงินทุนหมุนเวียน
     2539          2540                  เพิ่มขึ้น         ลดลง
สินทรัพย์หมุนเวียน :
เงินสด                                                                            30,400               36,400                     6,000
เงินลงทุนชั่วคราว                                                        23,600               30,000                     6,400
ลูกหนี้                                                                             44,800               52,800                     8,000
สินค้า                                                                             40,200               38,400                                                 1,800
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า                                                          1,800                  2,400                         600
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                        140,800             160,000  
            หนี้สินหมุนเวียน :
เจ้าหนี้                                                                            17,600               16,400                     1,200
ตั๋วเงินจ่าย (ธนาคาร)                                       3,000                  6,000                                                  3,000
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                                           6,600                  5,400                      1,200
เงินปันผลค้างจ่าย                                            3,000                 6,000                                                  3,000
รวมหนี้สินหมุนเวียน                                                  30,200              33,800
เงินทุนหมุนเวียน                                            110,600           126,200
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น                                                                              ______          15,600
                                                                                                                                                    23,400             23,400

(สินทรัพย์40-39) – (หนี้สิน40-39) =  (160,000-140,800) – (33,800-30,200) = 19,200-3,600=15,600
บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
         จากการดำเนินงาน:
         กำไรสุทธิ                                                                    44,800
            บวก   ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร                    3,600             48,400
         จากแหล่งอื่น:
         ออกตั๋วเงินจ่ายเพิ่ม                                                         18,000                                         66,400
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
         ซื้อสินทรัพย์ถาวร                                                                               26,800         
         จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด                                                                  24,000                                         50,800
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น                                                                                                   15,600      

            การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างปี 2540
         ตัวอย่างนี้แตกต่างจากตัวอย่างที่ 1 ตรงที่ไม่ได้ให้กำไรสุทธิประจำปี และค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรมาให้ จะต้องคำนวณหาเอง ดังนี้
1.              การคำนวณหากำไรสุทธิ
               กำไรสะสมปลายงวด                                                               73,800
               บวก  การจ่ายปันผลเป็นเงินสด                                            24,000
                                                                                                                   97,800
               หัก  กำไรสะสมต้นงวด                                                           53,000
               กำไรสุทธิ                                                              44,800
หรือ



กำไรสะสม
2540
ม.ค.-ธ.ค.   จ่ายเงินปันผล                        24,000
ธ.ค.31        ยอกยกไป                                73,800
                                                                           ______
                                                        97,800
2540
1 ม.ค.         ยอดยกมา                             53,000
ธ.ค. 31       กำไรสุทธิ                           44,800
                                                                         ______
                                                                         97,800

            จากจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 24,000 บาท  ทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลงเท่ากับ 24,000 บาท
2.               ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) ในปี 2539 มีจำนวน 42,400 บาท และในปี 2540 มีจำนวน 65,600 บาท แสดงว่ามีการซื้อสินทรัพย์ถาวร จากข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้สินทรัพย์ถาวรมีการซื้อเป็นจำนวนเงิน 26,800 บาท เป็นผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง 26,800 บาท ส่วนการขายสินทรัพย์ถาวรโจทย์ระบุว่าไม่มีการขายสินทรัพย์ถาวรระหว่างปีรายการนี้ ซึ่งไม่มีผลต่อเงินทุนหมุนเวียน
3.              การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร สามารถคำนวณได้ดังนี้
               ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์                                                      42,400
               บวก  ซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์                                      26,800
                                                                                                                   69,200
               หัก   ขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์               0                
               ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ปลายงวด      65,600            65,600
               ค่าเสื่อมราคา                                                           3,600
หรือ
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ)
2540
ม.ค. 1          จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด         42,400
ม.ค.-ธ.ค.   ยอดยกไป                           26,800
                                                                          ______
                                                        69,200
2540
ม.ค.-ธ.ค.     ยอดยกมา                                      0
ธ.ค. 31      ค่าเสื่อมราคา                        20,150
                     ยอดยกไป                           65,600
                                                                          69,200


         ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรปี 2540 เท่ากับ 3,600 บาท รายการนี้จะนำไปบวกคืนกำไรสุทธิ
4.              ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (ครบกำหนด 1 มิ.ย. 2545) ในปี 2540 มีจำนวน 18,000 บาท แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินโดยออกตั๋วเงินจ่าย รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 18,000 บาท
5.              ทุนหุ้นสามัญ ในปี 2539 และปี 2540 มีจำนวนเท่ากันคือ 100,000 บาท แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทุนหุ้นสามัญ รายการนี้ไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนหมุนเวียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น