25.12.53

บทที่ 1 การบัญชีบริหารและงบการเงิน (Managerial Accounting and Financial Statement)


บทที่ 1  การบัญชีบริหารและงบการเงิน      
(Managerial Accounting and Financial Statement) 
การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำและนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศทางการเงินที่เป้นอยู่ในปัจจุบันแก่ผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กรธุรกิจ ในขณะที่การบัญชีการเงินเป็นการจัดทำและนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศทางการเงินในอดีตขององค์กรแก่บุคคลและหรือหน่วยงานภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักลงทุนและหน่วยราชการต่างๆ ฯลฯ เนื่องจากการบัญชีบริหารมีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งเน้นการรายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารภายในเป็นหลักสำคัญ จึงต้องเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ และความต้องการข้อมูลและสารสนเทศของผู้บริหาร ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจแห่งนั้น ดังนั้น เนื้อหาในบทนี้จึงต้องการอธิบายถึงบทบาทของการบัญชีบริหาร และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ก่อนที่จะทำการศึกษาในบทถัดไป
            การบริหารธุรกิจและความต้องการสารสนเทศทางการบัญชีบริหาร
            องค์กรธุรกิจนานาประเภท เช่นร้านค้า บริษัท ธนาคาร มหาวิทยาลัย หรือหน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่จะต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรแห่งนั้น และบุคลากรมีหน้าที่ในการจัดการก็คือผู้บริหารระดับต่างๆ ซึ่งต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผน จัดหาทรัพยากร สั่งการ และควบคุมการดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงลักษณะหน้าที่ของการบริหารธุรกิจของกิจการโดยทั่วไป
            วิวัฒนาการของการบัญชีบริหาร
            การบัญชีบริหารมีรากฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 โดยในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ธุรกิจต่างๆ จะถูกควบคุมโดยเจ้าของเงินทุนเป็นส่วนใหญ่ บุคคลเหล่านี้ได้นำทรัพย์สินของตนมาลงทุนหรือทำการกู้ยืมเงินทุนจากเจ้าหนี้ส่วนบุคคล เมื่อมีจำนวนหนี้สินเพียงเล็กน้อย และไม่มีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลนอก การจัดทำงบและรายการงานเงินต่างๆ จึงเป็นไปอย่างเรียบง่าย ตรงข้ามกับความต้องการใช้ข้อมูลด้านการบัญชีบริหารที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากขณะนั้นเป็นยุคเริ่มแรกของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเช่น เหล็ก สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องการข้อมูลเพื่อนำไปใช้บริหารการผลิตในโรงงาน
            ภายหลังศตวรรษที่ 19 การบัญชีการเงินเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากหน่วยงานภายนอกเช่น ตลาดทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาลและกรมสรรพากร ได้บังคับให้ธุรกิจต่างๆ ต้องจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้ เนื่องจากกิจการส่วนใหญ่ต้องเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานปกติ ซึ่งในการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ภายนอกนี้ กิจการจะต้องแสดงรายงานการเงินที่ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลภายนอกเกิดความมั่นใจและเชื่อถือในรายงานการเงินของบริษัท จึงเกิดวิธีต่างๆ ในการบันทึกรายการทางการบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงินในเวลาต่อมา และวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือก็เป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงเวลาตอนท้ายศตวรรษที่ 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลักการทางการบัญชีบริหารด้วย
                ด้วยอิทธิพลของการบัญชีการเงินดังกล่าวข้างต้นได้ส่งผลกระทบต่อบทบาทของการบัญชีบริหารในอีกหลายทศวรรษต่อมา กล่าวคือนักบัญชีบริหารจะมุ่งเน้นความสำคัญไปที่การบัญชีการเงินเป็นหลัก ข้อมูลที่จะนำไปใช้ทางการบัญชีบริหารจะต้องมีคุณลักษณะตามข้อกำหนดทางการบัญชีการเงินรวมทั้งต้องจัดทำรายงานการเงินให้ทันตามเวลาที่กำหนด ในช่วงเวลานี้จึงไม่มีแนวคิดทางการบัญชีบริหารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากนัก จนกระทั่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ธุรกิจเกิดการขยายตัวมีผลิตภัณฑ์ใหม่หลายชนิด ส่งผลให้การดำเนินงานทั้งด้านการผลิตและการขายสลับซับซ้อนมากขึ้น บริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น ดูปองท์ เจเนอรัลมอเตอร์ และเจเนอรัลอิเล็กทริก ได้เริ่มให้ความสำคัญกับการจัดทำรายงาน ในเชิงบริหารแยกต่างหากจากรายงานการเงิน จนกระทั่งในช่วงกลางทศวรรษ 80 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางการตลาดและการค้าของโลก ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการบัญชีบริหาร สรุปได้ว่าการบัญชีบริหารเข้ามามีบทบาทในการบริหารธุรกิจมากขึ้น ทั้งนี้เพราะผู้บริหารต้องการที่จะต้องการที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม และทันเหตุการณ์ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจบริหาร ธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์
            การบัญชีบริหาร คือ การใช้วิธีการทางบัญชี รวบรวมข้อมูล จัดทำรายงานทางการเงินใช้ในการบริหาร เพื่อจัดทำงบประมาณ กำหนดด้นทุน เพื่อตัดสินใจระยะสั้นและวิเคราะห์โครงการลงทุนระยะยาว
          ความสัมพันธ์ระหว่างบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร  ต้องใช้ร่วมกัน ข้อมูลบัญชีการเงินต้องนำมาใช้ในบัญชีบริหารโดยตรงและต้องปรับปรุง เช่น ค่าเสื่อมฯ การรับจ่ายกระแสเงินสด บัญชีการเงินต้องใช้ข้อมูลจากบัญชีบริหาร เช่น ต้นทุนสินค้าคงเหลือ ซึ่งได้มาจากบัญชีต้นทุนเป็นมาตรฐานตัดสินใจ
          ข้อแตกต่างบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร 
บัญชีการเงิน  ใช้ระบบบัญชีคู่ แยกประเภทข้อมูล ทำรายงานการเงิน คำนึงถึงการใช้ของบุคคลภายนอก ไม่ค่อยยืดหยุ่น เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว
บัญชีบริหาร  ไม่มีการรวบรวมที่แน่นอน ข้อมูลเกือบทั้งหมดได้จากรายงานของบัญชีการเงิน ข้อมูลประกอบด้วย อดีต  ปัจจุบัน  อนาคต หน่วยของข้อมูล เป็นหน่วยเงินตรา และเป็นจำนวนหน่วย
          เกณฑ์ในการรวบรวมของบัญชีการเงิน คือ หนี้สิน ทรัพย์สิน ส่วนของเจ้าของ กำไร  ส่วนบัญชีบริหารรวบรวมตามความรับผิดชอบ
-         งวดเวลาบัญชีการเงิน ใช้ เดือน ไตรมาส  ปี  ไม่ยืดหยุ่น
-         งวดเวลาบัญชีบริหาร ใช้ตามบัญชีการเงิน และตามต้องการของฝ่ายบริหาร
-         รูปแบบรายงานบัญชีการเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ งบกำไร / งบดุล / งบกระแสเงินสด
-         รูปแบบรายงานบัญชีบริหาร เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหาร
-         บัญชีการเงิน ต้องมีความเชื่อถือได้ เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น
-         บัญชีบริหาร  เชื่อถือได้น้อย เพราะส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลในอนาคต
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่เป็นข้อมูลการเงิน ได้แก่
1) เพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการ      
2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
3) เพื่อบรรลุความพึงพอใจของลูกค้า               
4) ลดต้นทุนของการผลิต
                            สิ่งที่ควรปรับปรุงต่อเนื่องในการบริหาร
1)              ลดเวลาการเคลื่อนย้ายในการผลิต การเก็บรักษา รอรับบริการของลูกค้า ตรวจสอบคุณภาพ
2)              ลดการสูญเสียทรัพยากร วัตถุดิบและแรงงาน
3)              ลดเวลาเตรียมเครื่องจักร  อุปกรณ์  หรือกระบวนการผลิต
4)              ลดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีบริหาร
            การดำเนินงานของธุรกิจเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของธุรกิจที่กำหนดไว้   ผู้บริหารจะต้องรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเอใช้แระกอบการวางแผน   การควบคุม และการตัดสินใจในการบริหารการจัดการภายในองค์การและภายใต้สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นข้อมูลให้แก่ฝ่ายบริหารเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างถูกต้อง  แม่นยำ  และรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ก็คือ  ข้อมูลทางด้านการบัญชี
            การบัญชีเป็นการบันทึกรายงานทางการเงินที่เกิดขึ้นในขณะที่ธุรกิจกำลังดำเนินการอยู่  โดยจะมีการจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ตามระบบหรือหลักการบัญชีและรวบรวมข้อมูลทางการเงินเหล่านั้นเพื่อนำเสนอให้แก่บุคคลต่างๆที่ตัดสินใจในผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินขิงธุรกิจ  โดยข้อมูลทางการบัญชีสามารถแยกพิจารณาตามลักษณะกลุ่มบุคคลที่นำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ได้ดังนี้

การบัญชีทางการเงิน  (Financial   Accounting)
                เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อนำเสนอข้อมูลทางการเงินที่เกิดขึ้นในอดีตให้แก่บุคคลทั่วไปได้ทราบ  ซึ่งอาจเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานของธุรกิจเหล่านั้นก็ได้  เช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้  หน่วยงานของรัฐบาล พนักงาน  หรือบุคคลที่สนใจทั่วไป  เป็นต้น  โดยจะนำเสนอในรูปของงบการเงินโดยภาพรวมของธุรกิจ  ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดทำตามข้อปฏิบัติทางกฎหมายและการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รองรับโดยทั่วไป
การบัญชีบริหาร (Management Accounting)
            เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อนำเสนอข้อมูลทางการเงินที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตหรือข้อมูลทางการเงินที่ได้จากการประมาณการว่าจะเกิดขึ้นในอดีตก็ได้  เพื่อนำเสนอข้อมูลเหล่านนั้นให้ฝ่ายบริหารภายในองค์กรธุรกิจได้ทราบและใช้เป็นแนวทางในการวางแผน  กาควบคุม  และประกอบการตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเวลา  โดยจะนำข้อมูลในเชิงวิเคราะห์เฉพาะส่วนภายในองค์กรธุรกิจที่ผู้บริหารให้ความสนใจในขณะนั้น  ดังนั้นข้อมูลที่ได้จึงอาจไม่ได้ยึดแนวคิดตามาตรฐานการบัญชีการเงินใดๆทั้งหมดและไม่มีกำหนดระยะเวลาในการจัดทำที่แน่นนอน  ขึ้นอยู่กับความต้องการของฝ่ายบริหาร



                          รูปที่ 1.1  แผนผังแสดงลักษณะบัญชี


จากลักษณะของบัญชีการเงินและบัญชีบริหารดังกล่าวข้างต้น  สามารถสรุปความแตกต่างได้ดังนี้


บัญชีการเงิน
บัญชีบริหาร
1.ลักษณะข้อมูล




2.การนำเสนอข้อมูล





3.ผู้ใช้ข้อมูล


4.กำหนดการจัดทำบัญชี

5.หลักการจัดการ








6.ประโยชน์ที่ได้รับ
เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต  และมีหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเกิดรายการที่สามารถตรวจสอบได้โดยลักษณะข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณ


จะนำเสนอข้อมูลของบัญชีการเงินในลักษณะภาพรวมของธุรกิจ




บุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจในองค์กรธุรกิจนั้นๆ  เช่น  เจ้าหนี้  ผู้ถือหุ้น  นักลงทุน  หน่วยงานรัฐบาล  และพนักงาน  เป็นต้น

มีกำหนดระยะเวลาในการจัดที่แน่นนอนอย่างน้อย1 ปี ต้องทำ 1 ครั้ง

มีรูปแบบของการจัดการทำที่แน่นนอน  โดยจัดตามหลักมาตรฐานของการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปเนื่องจากผู้ใช้ข้อมูลบัญชีการเงินนั้นเป็นของบุคคลทั่วไปหลายฝ่าย  ซึ่งล้วนแต่มีความต้องการการใช้ประโยชน์จากงบการเงินที่แตกต่างกันไป  ดังนั้นจะต้องมามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายสามารถนำมาเปรียบเทียบถึงความถูกต้อง  เชื่อถือได้  และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ทาราบผลการดำเนินงานจากการบริหรงานที่ผ่านมาในอดีต
ทราบถึงฐานะทางการเงินจากผลของการบริหารงานในอดีต
ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร  โดยข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลในเชิงคุณภาพ

นำเสนอข้อมูลเฉพาะส่วนที่ฝ่ายบริหารต้องการ  เช่นข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าชนิดประเภทใดประเภทหนึ่ง  ข้อมูลของแผนบัญชีลูกหนี้การค้า   และข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการซ่อมบำรุง  ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ  เป็นต้น

ผู้บริหารที่อยู่ภายในองค์กรธุรกิจ  ซึ่งรวมทั้งผู้บริหารระดับล่าง  ผู้บริหารระดับกลาง  และผู้บริหารระดับสูง

ไม่มีกำหนดระยะเวลาของการจัดทำที่แน่นนอนจะจัดทำเมื่อผู้บริหารต้องการใช้ข้อมูล

ไม่มีรูปแบบที่แน่นนอน  จะจักทำในลักษณะเชิงวิเคราะห์  ยืดหยุ่นตามความต้องการใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารภายในธุรกิจนั้น






จัดทำเพื่อนำไปใช้ประกอบการบริหารงานของฝ่ายบริหารในด้านต่างๆ เช่น  การวางแผน  การควบคุม  และการตัดสินใจ  เป็นต้น

 
อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าการบัญชีการเงินและบัญชีบริหารมีความแตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ตาม  แต่ในส่วนของข้อมูลทางบัญชีส่งนของข้อมูลทางบัญชีส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในทางบัญชีบริหารนั้นก็มาจากข้อมูลในทางบัญชีการเงินด้วยเช่น  เนื่องจากตามที่กล่าวมาแล้วว่าการจัดทำบัญชีการเงินจะต้องยืดหลักมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป  เพื่อให้ข้อมูลนั้นมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นที่เชื่อถือได้  ฝ่ายบริหารของธุรกิจก็ต้องการข้อมูลในทางด้านบัญชีที่มีคุณภาพในลักษณะที่กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกันและในบางครั้งการประมาณการข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นก็จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นตัวประมาณการ  เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจ  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการบัญชีการเงินกับการการบัญชีบริหารนั้นยังคงคล้ายคลึงหรือเหมือนกันอยู่บ้างในบางเรื่อง
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
            องค์กรธุรกิจนั้นเป็นกลุ่มของบุคคลต่างๆ  ที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการทำงาน  การบริหารในแต่ละองค์กรจะดำเนินงานไปได้ด้วยดีนั้นจำเป็นต้องมีผู้บริหารจัดการ  ซึ่งจะเป็นหน้าที่บริหารงานให้ลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร  ซึ่งหน้าที่หลักที่สำคัญคือ
            1.การวางแผน (Planning)  เป็นการวางแผนงานของกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ภายในองค์กรซึ่งอาจเป็นแผนงานในระยะสั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นการะบุหรือการเลือกทางเลือกต่างๆที่มีอยู่ว่าการดำเนินงานในทางเลือกใดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์การที่ได้วางไว้
            2.การสั่งการและสร้างแรงจูงใจ (Directing   and   Motivating )  เป็นหน้าที่ผู้บริหารจะต้องสั่งการให้ชัดเจน  เพื่อให้แต่ละบุคคลภายในองค์กรได้ทราบถึงขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ  รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคคลต่างๆในองค์กรได้มีความรู้สึกที่จะร่วมกันทำหน้าที่ของแต่ละคนให้ดีที่สุด  เพื่อให้สามารถประสบผลสำเร็จตามเปาหมายหลักขององค์กร
            3.การควบคุมและประเมินผลงาน  (Controlling   and   Evaluation)   เป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารจะต้องดำเนินงานเพื่อให้ทราบถึงผลที่เกิดการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานย่อยภายในองค์กรโดยจะต้องทำการกำหนดมาตรฐานของการปฏิบัติงาน   การสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน การเปรียบเทียบการวัดผล และประเมินผลงานที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติงานกับแผนงานที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งจะต้องหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเมื่อการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงาน เพื่อได้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้
            จากบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารที่กล่าวไว้ข้างต้นจะเห็นได้ว่า  กระบวนการการตัดสินใจ  (Decision   Making) เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในทุกบทบาทว่าผู้บริหารจะตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานอย่างไรจึงจะทำให้เกิดความเหมาะสมที่สุดภายใต้สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นอย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริหารจะสามารถทำการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งลักษณะของข้อมูลนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ
            1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantity Information)   ข้อมูลในลักษณะนี้สามารถที่จะวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ชัดเจน   เช่น   ข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยขาย   หน่วยผลิต ยอดขาย ต้นทุนในการผลิต  และผลกำไรหรือขาดทุนที่จะเกิดขึ้น  เป็นต้น
            2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ  (Qualitative   Information)   ข้อมูลในลักษณะนี้เป็นข้อมูลที่ไม่อาจวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจน  เช่น  สภาวะทางเศรษฐกิจ  การเมือง  สถานการณ์ระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เป็นต้น
                จากลักษณะของข้อมูลในเชิงปริมาณและข้อมูลในเชิงคุณภาพที่กล่าวข้างต้นนั้น  จะเห็นว่าเป็นข้อมูลที่สามารถเก็บรวบรวมได้ทั้งจากภายในองค์กรและจากภายนอกองค์กร  ซึ่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งนั้นถือเป็นข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้บริหารอยู่เสมอ


บทบาทของฝ่ายบัญชีในองค์กร
การจัดโครงสร้างขององค์ธุรกิจนั้น  สามารถแบ่งตามอำนาจหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การได้ดังนี้
1.อำนาจหน้าที่หลัก  (Line Authority) เป็นสายงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินงานของธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายหลักขององค์การ เช่น ฝ่ายผลิตหรือฝ่ายขาย เป็นต้น
2. อำนาจหน้าที่สนับสนุน ( Staff Authority) เป็นสายงานที่ให้การสนับสนุนละช่วยเหลือให้การทำงานของสายงานหลักเกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น  ฝ่ายบัญชีจะทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงิน  เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคาสินค้า  การควบคุมต้นทุนการผลิต  และการจัดทำงบประมาณ  เป็นต้น
คุณสมบัติข้อมูลทางบัญชี
            ข้อมูลทางบัญชีที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
            1. ความเกี่ยวข้องของข้อมูล
                        ข้อมูลทางการบัญชีที่ฝ่ายบัญชีรวบรวมมานั้น  จะต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาที่ฝ่ายบริหารกำลังตัดสินใจอยู่  การมีข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นจำทำให้ฝ่ายบริหารต้องเสียเวลาในการจำแนกข้อมูลหรืออาจเกิดความสับสนในประเด็นที่พิจารณาได้
            2. ทันต่อเวลา
                        ข้อมูลทางการบัญชีจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเมื่อเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้ทันต่อเวลาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  แลควรเป็นข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
            3. ความถูกต้องเชื่อถือได้
                        ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลจะช่วยให้การตัดสินใจนั้นมีความถูกต้องมากที่สุดด้วย  ซึ่งการพิจารณาถึงความถูกต้องและเชื่อถือได้นั้นควรจะต้องมีเอกสาร  หลักฐานอ้างอิง  หรืออระบุแหล่งที่มาของข้อมูลได้  และการนำเสนอข้อมูลนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังแงมีความเป็นกลางในการแสดงข้อมูลที่เป็นตัวแทนของรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชี
4. การเปรียบเทียบกันได้
                การนำเสนอข้อมูลทางบัญชีนั้นจะต้องยึดหลักความสม่ำเสมอในการจัดทำเกี่ยวกับวิธีการทางบัญชีที่นำมาใช้   การรับรู้รายการ  หรือการวัดมูลค่าของรายการต่างๆ  ที่ปรากฏในงบการเงิน  เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้ในการนำไปเปรียบเทียบถึงแนวโน้นขิงสถานการณ์ทางการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


1.               ความหมายของงบการเงิน (Definition of Financial Statement)
งบการเงิน หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลของการดำเนินงานของกิจการสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และเพื่อแสดงฐานะของกิจการค้า ณ วันใดวันหนึ่ง งบการเงินโดยทั่วไปจะประกอบด้วย งบดุล (Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน (Statement of Changes in Financial Position) นอกจากนี้งบการเงินยังรวมหมายเหตุประกอบงบ งบย่อย และคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
2.               ประเภทของงบการเงิน (Types of Financial Statement)
งบการเงินเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกิจการและแสดงฐานะการเงินของกิจการตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

2.1         งบดุล (Balance Sheet)
เป็นงบการเงินที่ทำขึ้นในวันใดวันหนึ่ง โดยปกติจะจัดทำ ณ วันสิ้นปี เพื่อแสดงฐานะของกิจการว่าประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าใด รวมถึงการหมายเหตุต่อท้ายงบการเงิน ซึ่งเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวข้องกับภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นได้
การจัดประเภทรายการในงบดุล
รายการในงบดุลจะจัดประเภทรายการได้ดังนี้
สินทรัพย์
1.               สินทรัพย์หมุนเวียน
2.               เงินลงทุน
3.               ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)
4.               สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
5.               สินทรัพย์อื่นๆ
หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
1.               หนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน
2.               หนี้สินระยะยาว
3.               หนี้สินอื่นๆ
4.               ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์ (Asset)
สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าเป็นตัวเงิน อาจจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ โดยจะอยู่ในรูปของสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบริการที่จะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป สินทรัพย์ในงบดุลจะแสดงรายการดังต่อไปนี้
1.               สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) หมายถึง สินทรัพย์ต่างๆ ที่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานของกิจการ โดยปกติรอบระยะเวลาดำเนินงานจะเป็นรอบ 1 ปี อาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่าหนึ่งปี ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ สินทรัพย์ที่ถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน มีดังนี้
-         เงินสด
-         หลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาด หรือเงินลงทุนชั่วคราว
-         ตั๋วเงินรับ
-         ลูกหนี้
-         สินค้าคงเหลือ
-         ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
-         รายได้ค้างรับ
2.               เงินลงทุน (Investment) หมายถึง เงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินที่กิจการลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และตั๋วเงินระยะยาว หรือเงินลงทุนในกองทุนเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กองทุนเพื่อขยายโรงงาน จุดประสงค์ของการลงทุนระยะยาวเพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในกิจการที่ธุรกิจลงทุน หรือเพื่อต้องการรายได้ในรูปของเงินปันผล หรือดอกเบี้ย
3.               ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) (Property,Plant and Equipment) ได้แก่ สินทรัพย์ถาวรที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติ การวัดประโยชน์ของสินทรัพย์เหล่านี้คำนวณจากราคาทุนที่ซื้อมา คือ ราคาตามใบกำกับสินค้า บวก ค่าขนส่ง และค่าติดตั้งหักด้วยส่วนลดเงินสด ซึ่งธุรกิจอาจมีไว้เพื่อการผลิต การหารายได้ ตลอดจนใช้กับงานอื่นๆ ของกิจการ เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ
4.               สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี มีลักษณะเป็นสิทธิข้อเรียกร้อง หรือความได้เปรียบที่บริษัทที่มีอยู่เช่น
-         ค่าความนิยม
-         นิมิตสิทธิ
-         เครื่องหมายการค้า
-         สัมปทานบัตร
-         ลิขสิทธิ์
-         ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท
-         ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา
5.               สินทรัพย์อื่นๆ (Other Asset) ได้แก่ สินทรัพย์ที่นอกเหนือไปจาก 4 ประเภทข้างต้น เช่น มูลค่าราคาเวนคืนกรมธรรม์ ต้นทุนอาคารระหว่างก่อสร้าง เป็นต้น
หนี้สิน (Liabilities)
หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพัน หรือสิทธิเรียกร้องเหนือสินทรัพย์ของกิจการจากบุคคลภายนอก หนี้สินของกิจการเกิดขึ้นเนื่องจากการซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ และการกู้ยืมเงินหรือกรณีอื่นๆ ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วย สินทรัพย์หรือบริการ
หนี้สินในงบดุลจะแสดงรายการหนี้ที่ถึงกำหนดชำระก่อน และตามด้วยหนี้สินระยะยาวดังต่อไปนี้
1.               หนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน (Short-Term Liabilities or Current Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนที่กิจการมีอยู่ภายใน 1 ปี หนี้สินหมุนเวียนสามารถแยกออกได้ดังนี้
-         เจ้าหนี้
-         ตั๋วเงินจ่าย
-         เงินที่เป็นหนี้พนักงาน
-         ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
-         รายได้รับล่วงหน้า
2.               หนี้สินระยะยาว (Long-Term Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีอายุครบกำหนดเกินกว่า 1 ปี ตามปกติแล้วการก่อนหนี้ระยะยาวจะเกิดจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร ซึ่งหนี้สินระยะยาวดังกล่าวปกติจะมีดอกเบี้ย สำหรับหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สินประเภทนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น หนี้จำนอง พันธบัตร ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว เป็นต้น
3.               หนี้สินอื่นๆ (Other Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ไม่อาจระบุให้อยู่ในข้อ 1 และ 2 ข้างต้น เป็นหนี้ที่ไม่อาจระบุอายุได้ว่าจะชำระภายในระยะสั้น หรือระยะยาว และเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น หนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น
ส่วนของเจ้าของ
ส่วนของเจ้าของ หมายถึง สินทรัพย์สุทธิของกิจการ หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าของในสินทรัพย์ หรือส่วนได้ส่วนเสียในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากหักสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่หมดแล้ว ซึ่งก็คือส่วนเกินของสินทรัพย์ที่สูงกว่าหนี้สิน ส่วนของเจ้าของในกิจการประกอบด้วย เงินลงทุน และกำไรสะสม
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปบริษัทจำกัด เงินลงทุนจะเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ มูลค่าหุ้นขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย และส่วนเกินจากมูลค่าหุ้น ส่วนที่เป็นกำไรสะสมของบริษัท คือ ยอดรวมของกำไรสุทธิแต่ละปี ยอดนี้จะลดลงเมื่อมีผลขาดทุน หรือเมื่อจ่ายเงินปันผล
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปเจ้าของคนเดียว เงินลงทุนจะมีบัญชีเดียวคือ บัญชีทุน ซึ่งรวมบัญชีกำไรสะสม และบัญชีเงินถอนไว้ในบัญชีเดียวกัน
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปห้างหุ้นส่วน จะแยกบัญชีทุนของหุ้นส่วนแต่ละคนไว้คนละบัญชี และมีบัญชีกระแสทุนไว้ลงรายการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนแต่ละคน
(ตัวอย่างงบดุล)
2.2         งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นรายงานทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในระยะเวลาหนึ่งกิจการมีรายได้รวมทั้งสิ้นเท่าใด และมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเท่าใด หากรายได้รวมทั้งสิ้นมากกว่าค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ในรอบระยะเวลานั้นแสดงว่ากิจการมีกำไรสุทธิ (Net Profit or Net Income) ในทางตรงกันข้ามถ้ารายได้รวมทั้งสิ้นน้อยกว่าค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น แสดงว่าในรอบระยะเวลานั้นกิจการขาดทุนสุทธิ (Net Loss) งบกำไรขาดทุนจึงเป็นงบที่แสดงให้เห็นความสามารถในการหากำไรของกิจการว่าเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้งบกำไรขาดทุนจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดของข้อมูลทางการเงิน ซึ่งผู้ลงทุน ผู้บริหารกิจการ ตลอดจนเจ้าหนี้ ให้ความสนใจในข้อมูลดังกล่าว เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะงบนี้จะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานแล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประมาณกำไรในอนาคต และการประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารกิจการและหาข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ต่อหุ้นสามัญของกิจการได้ (Earnings Per Share : EPS)
การแบ่งประเภทรายการในงบกำไรขาดทุน
1.               รายได้ (Income or Revenues) หมายถึง ผลตอบแทนจากการทีกิจการได้รับจากการประกอบการโดยปกติของกิจการอันเนื่องมาจากการจำหน่ายสินค้า หรือให้บริการรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งเป็นผลทำให้สินทรัพย์และส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น หรือหนี้สินลดลง สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นรายได้ของกิจการ
2.               ค่าใช้จ่าย (Expenses) หมายถึง สินทรัพย์ของกิจการที่ลดลง หรือหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการผลิต การจัดหาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อการจำหน่ายสินค้าและบริการ
กิจการให้บริการ จะมีค่าใช้จ่ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน 2 ประเภท คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
กิจการขายสินค้า จะมีค่าใช้จ่ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน 3 ประเภท คือ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหารและทั่วไป) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
3.               กำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ (Net Profit or Net Loss) ในกรณีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดกำไรสุทธิ แต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดผลขาดทุนสุทธิ
4.               รายการพิเศษ (Extraordinary Items) หมายถึง รายได้หรือค่าใช่จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการภายใต้เงื่อนไข 2 ประการคือ มีลักษณะผิดปกติ และไม่เกิดเป็นประจำ
5.               ภาษีเงินได้ (Income Tax) รายจ่ายของกิจการที่ต้องจ่ายให้กับรัฐบาลตามกำไรที่หามาได้สำหรับงวดหนึ่งๆ
6.               กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share) จะหาได้จากการนำกำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้นของบริษัททั้งหมด

3.               ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี
                ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี  เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการจัดทำงบการเงิน  ซึ่งผู้จัดทำงบการเงินจะต้องทราบเกี่ยวกับข้อนสมมติฐานที่จะกล่าวต่อไปนี้  ข้อสมมติฐานของการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี  มีดังนี้
                (1)  หลักการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี  การบัญชีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง  ข้อมูลทางการบัญชีอาจเป็นพรรณนาโวหารก็ได้  แต่ข้อมูลดังกล่าวจะให้ความหมายไม่ชัดเจนเท่าข้อมูลที่เป็นตัวเลข  เนื่องจากหน่วยเงินตราใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนและทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดราคา  ดังนั้นนักบัญชีจึงเป็นหน่วยเงินตราในการวัดผลการดำเนินงาน  ฐานะการเงิน  และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
                (2)  หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ  ข้อมูลทางการบัญชีเป็นข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานหนึ่งๆ  ซึ่งแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการและกิจการอื่น  หน่วยงานในที่นี้ได้แก่หน่วยธุรกิจซึ่งอาจเป็นในรูปของบริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วน  บุคคลคนเดียวหรือในรูปอื่น  ดังนั้นจึงต้องระบุหน่วยของกิจการไว้ในงบการเงินนั้นๆ
                     ความเป็นหน่วยงานตามข้อสมมติฐานของการบัญชีอาจไม่เหมือนกับความหมายของความเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย  เช่น  บริษัทต่างๆในเครือเป็นกิจการแยกกันตามกฎหมาย  แต่ในการทำงบการเงินรวมนักบัญชีถือว่าบริษัทต่างๆ  ในเครือนั้นเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน
                (3)  หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม  เนื่องจากงบการเงินทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหลายฝ่าย  ซึ่งอยู่ในสถานนะต่างๆ  กัน  นักบัญชีผู้ทำงบการเงินก็อยู่อีกสถานะหนึ่ง  ดังนั้นเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจงบการเงินของกิจการได้ถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  การบันทึกรายการบัญชีและการทำงบการเงินจึงต้องจัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักฐานและข้อเท็จจริงอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่างๆ  ยอมรับและเชื่อถือ  หลักฐานดังกล่าวจะต้องปราศจากความลำเอียงหรือไม่มีอคติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ  โดยพยายามหลีกเลี่ยงความเห็นส่วนบุคคลให้มากที่สุด
                (4)  หลักรอบเวลา  กระบวนการบัญชีการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกิจการสำหรับรอบเวลาหรือรอบบัญชีที่ระบุไว้  ส่วนผู้ใช้งบการเงินทำการประเมินผลตัดสินใจ  เกี่ยวกับกิจการตามวาระและเวลาต่างๆ  กันตลอดอายุของกิจการ  ดังนั้นจึงต้องแบ่งการทงานของกิจการออกเป็นรอบเวลาสั้นๆ  เพื่อจัดทำข้อมูลไว้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ  โดยปกติรอบเวลาดังกล่าวมักจะกำหนดไว้เท่ากัน  เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ  และมีระบุไว้ชัดเจนในงบการเงิน
                (5)  หลักความดำรงอยู่ของกิจการ  กิจการที่จัดขึ้นมาย่อยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอยู่โดยไม่มีกำหนด  กล่าวคือ  หากไม่มีเหตุชี้เป็นอย่างอื่นแล้ว  กิจการที่ตั้งขึ้นมาย่อมจะดำเนินงานต่อเนื่องกันไปอย่างน้อยก็นานพอที่จะดำเนินงานตามแผนและข้อผูกพันที่ได้ทำไว้จนสำเร็จ  นักบัญชีจึงมีข้อสมมติข้นพื้นฐานว่ากิจการไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินการ  หรือไม่จำเป็นต้องเลิกดำเนินงาน  หรือต้องลดปริมาณการดำเนินงานลงอย่างมาก  หากเหตุผลอื่นใดชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ในภายหน้าจะไม่เป็นตามข้อสมมติดังกล่าว  ก็จะต้องใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้สำหรับเหตุการณ์นั้นๆ  โดยเฉพาะแทน
                (6)  หลักราคาทุน  หลักราคาทุนเกี่ยวโยงกับหลักความดำรงอยู่ของกิจการ  ตามหลักราคาทุน  การบันทึกสินทรัพย์และหน้าสินถือเกณฑ์ราคาทุนเดิม  ซึ่งหมายถึงราคาอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนราคาทุนเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าราคาอื่นๆ  เพราะราคาทุนเป็นราคาที่แน่นอนและสามารถคำนวณไดอย่างตรงไปตรงมา  ไม่ขึ้นอยู่กับ ความเห็นของแต่ละคน  ซึ่งอาจแตกต่างกันได้  อย่างไรก็ตามการใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ก็มีข้อเสียหลายประการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในกรณีที่มีการชีราคาอื่นที่มิใช่ราคาทุน  ควรเปิดเผยให้ทราบด้วย
                (7)  หลักการเกิดขึ้นของรายได้  หลักการเกิดขึ้นของรายได้เป็นหลักเกี่ยวกับการบันทึกรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าว่า  ควรถือว่ารายได้เกิดขึ้นเมื่อใด  และในจำนวนเงินเท่าใด
                โดยทั่วไป  นักบัญชีจะลงบันทึกว่ารายได้ได้เกิดขึ้นแล้ว  เมื่อมีเงื่อนไข  2  อย่างต่อไปนี้คือ  (1)  กระบวนการก่อให้เกิดรายได้ได้สำเร็จแล้วหรือถือได้ว่าสำเร็จแล้ว  และ (2)  การแลกเปลี่ยนได้เกิดขึ้นแล้ว  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  รายได้เกิดขึ้นในงวด  ซึ่งได้มรการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว  สำหรับจำนวนเงินที่บันทึกเป็นรายได้นั้นก็คือจำนวนที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ  อย่างไรก็ตามในบางกรณีนักบัญชีถือว่ารายได้เกิดขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์อื่นที่แตกต่างไปจากขั้นต้น
                (8)  หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้  หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบัญชีคือการจับคู่ผลความสำเร็จ  (ตามที่วัดด้วยรายได้)  กับความพยายาม  (ตามที่วัดด้วยค่าใช้จ่าย)  หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เป็นแนวทางสำหรับตัดสินว่า  รายการใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นๆ  วิธีการคือ  จะมีการบันทึกรายได้ตามหลักการเกิดขึ้นของรายได้ก่อน  ถัดจากนั้นจึงเอาค่าใช้จ่ายไปจับคู่กับรายได้
                เมื่อพิจารณาหลักการเกิดขึ้นของรายได้คู่กันไปกับหลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เราจะได้หลักที่นิยมเรียกกันทั่วๆ  ไปว่าหลักเงินค้าง
                (9)  หลักเงินค้าง  ในการคำนวณกำไรและขาดทุนของงวด  นักบัญชีต้องคำนึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เป็นงวดนั้น  และแยกส่วนที่ไม่เป็นของงวดนั้นนออก  ตามวิธีการบัญชีที่ถือเกณฑ์เงินสด  จำนวนเงินที่จ่ายไปทั้งหมดสำหรับงวดอาจถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น  แต่ตามหลักการบัญชีเงินค้างรายได้ถือว่าเกิดขึ้นเมื่อเข้าเกณฑ์  2  ประการดังกล่าวแล้ว  และใช้หลักเกณฑ์การจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงวด  แม้จะยังไม่มีการรับเงินและจ่ายเงินก็ตาม
                (10)  หลักโดยประมาณ  การคำนวณกำไรและขาดทุนต้องอาศัยการปันส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายเข้ารอบบัญชีต่างๆ  เข้ากิจกรรมต่างๆ  ที่สลับซับซ้อน  และปันส่วนเข้ากิจกรรมที่มีลักษณะร่วมกัน  การคำนวณจึงจำเป็นต้องทำโดยประมาณการที่การดำเนินงานของกิจการที่มีลักษณะต่อเนื่องกัน  มีความสลับซับซ้อน  มีความไม่แน่นอน  และมีลักษณะร่วมสัมพันธ์กัน  ทำให้นักบัญชีไม่อาจคำนวณกำไรและขาดทุนได้ถูกต้องแน่นอนจึงต้องใช้วิธีประมาณการและใช้ดุลยพินิจประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                (11)  หลักความสม่ำเสมอ  การใช้งบการเงินสำหรับระยะหนึ่ง  บางครั้งอาจเพียงพอในการช่วยตัดสินใจ  แต่งบการเงินสำหรับระยะเวลาหลายๆ  ช่วงติดต่อกันไปย่อมจะมีความหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้ดีกว่า
                การเปรียบเทียบงบการเงิน  สำหรับระยะเวลาที่แตกต่างกัน  ย่อมจะเกิดผลและมีประโยชน์ต่อเมื่องบการเงินนั้นๆ  ได้จัดทำขึ้นโดยอาศัยมาตรฐานการบัญชีเดียวกัน  ฉะนั้นการปฏิบัติบัญชีของกิจการหนึ่งๆ  จึงต้องยึดหลักความสม่ำเสมอ  กล่าวคือ  เมื่อเลือกใช้การปฏิบัติบัญชีวิธีใดแล้วจะใช้วิธีนั้นโดยตลอด  แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติบัญชีไม่ได้เลย  เพราะเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมในธุรกิจย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
                (12)  หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ  นักบัญชีมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลการเงินที่สำคัญทั้งหมดต่อผู้ใช้งบการเงิน  ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่า  การเปิดเผยอย่างเพียงพอควรมีลักษณะอย่างไร  โดยทั่งไปนักบัญชีจะตัดสินโดยถือหลักว่า  ถ้าไม่เปิดเผยแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิดหรือไม่  ความเห็นจึงอาจแตกต่างกันได้มากกว่ารายการใดบ้างที่ควรเปิดเผย  ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่ควรนำมาใช้คือ  "เมื่อสงสัยให้เปิดเผย"
                การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอหมายความรวมถึง  รูปแบบจัดรายการและข้อมูลในงบการเงิน  หมายเหตุประกอบงบการเงิน  คำศัพท์ที่ใช้  การแยกประเภทรายการ  เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณ ฯลฯ  ทั้งหมดนี้เน้นถึงลักษณะและชนิดของการเปิดเผยต่างๆ  ที่จำเป็นที่ทำงบการเงินให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ
                ข้อควรคำนึงในการใช้มาตรฐานการบัญชี
                1.  หลักความระมัดระวังในการดำเนินกิจการ  ความไม่แน่นอนมักเกิดขึ้นเสมอ  การทำงบการเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังรับรู้เรื่องความไม่แน่นอนนี้ไว้ด้วย
                หลักความระมัดระวัง  หมายถึงว่าในกรณีที่อาจเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีได้มากกว่าหนึ่งวิธี  นักบัญชีควรเลือกวิธีที่จะแสดงสินทรัพย์และกำไรในเชิงที่ต่ำกว่าไว้ก่อน  หลักโดยย่อคือ "ไม่คาดการณ์ว่าจะได้กำไร  แต่จะรับรู้การขาดทุนไว้อย่างเต็มที่  ในกรณีที่สงสัยให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทันที"  อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าหลักความระมัดระวังจะเป็นเหตุผลสนับสนุนให้กิจการตั้งสำรองลับได้
                2.  หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบ  นักยัญชีให้ความสนใจในเนื้อหาทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์  แม้รูปแบบทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้นอาจจะแตกต่างจากรูปแบบทางกฎหมายก็ตามโดยปกติเนื้อหาทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์ที่เกิดขันมักจะสอดคล้องกับรูปแบบทางกฎหมาย  อย่างไรก็ตามใยบางครั้งเนื้อหากับรูปแบบทางกฎหมายอาจแตกต่างกัน  นักบัญชีจึงควรเสนองบการเงิน  ซึ่งรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามเนื้อหาและตามความเป็นจริงทางการเงิน  ไม่ใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเท่านั้น  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
                3.  หลักการมีนัยสำคัญ  งบการเงินควรเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญพอที่จะกระทบต่อการตัดสินใจ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าโดยถูกต้องถึงผลการดำเนินงาน  ฐานะการเงิน  และการ
เปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
                เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญหมายถึงเหตุการณ์  ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับทราบแล้วอาจตัดสินใจผิดไปจากกรณีที่ได้ทราบ  ดังนั้นเมื่อนักบัญชีได้สังเกตเห็นเหตุการณ์ใดซึ่งมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว  นักบัญชีต้องรายงานเหตุการณ์นั้นด้วยความระมัดระวัง
บริการแก่ลูกค้าว่า  ควรถือว่ารายได้เกิดขึ้นเมื่อใดหลายประการ  โยเฉพาะใจที่

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2558 เวลา 18:08

    เรามีรัฐบาลที่ได้รับการอนุมัติและผู้ให้กู้สินเชื่อได้รับการรับรอง บริษัท ของเราไม่ได้มีเงินให้สินเชื่อตั้งแต่ส่วนบุคคลเงินให้สินเชื่ออุตสาหกรรมเพื่อผู้ที่สนใจหรือ บริษัท ที่กำลังมองหาเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินในอัตราดอกเบี้ยเจรจาโอกาส 2% ที่จะล้างฝ่ายของคุณ. เริ่มต้นหรือธุรกิจเพิ่มคุณ ด้วยเงินกู้จากเงินให้กู้ยืมที่ บริษัท ของเราได้รับในปอนด์ (£) ดอลลาร์ ($) และยูโร ดังนั้นใช้สำหรับเงินกู้ในขณะนี้ผู้ที่สนใจควรติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรอกข้อมูลข้อมูลของผู้กู้ ติดต่อเราตอนนี้ผ่าน: jenniferdawsonloanfirm20@gmail.com
    (2) รัฐ:
    (3) ที่อยู่:
    (4) เมือง:
    (5) เพศ:
    (6) สถานภาพ:
    (7) การทำงาน:
    (8) หมายเลขโทรศัพท์มือถือ:
    (9) รายได้รายเดือน:
    (10) วงเงินกู้ที่จำเป็น:
    (11) ระยะเวลาของเงินกู้ที่:
    (12) วัตถุประสงค์เงินกู้:

    ขอบคุณสำหรับความเข้าใจของคุณในขณะที่เรามุ่งหวังที่จะได้ยินจากคุณเร็ว ๆ นี้

    E-Mail: jenniferdawsonloanfirm20@gmail.com

    ตอบลบ