30.12.53

บทที่ 5 การบัญชีต้นทุนรวม และการบัญชีต้นทุนผันแปร (Full Costing or Absorption Costing and Variable Costing or Direct Costing)


บทที่  5
การบัญชีต้นทุนรวม  และการบัญชีต้นทุนผันแปร
(Full Costing or Absorption Costing and Variable Costing or Direct Costing)
-----------------------------------------
                                ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต  หรือองค์ประกอบของต้นทุนการผลิตจะประกอบด้วยวัตถุทางตรง  ค่าแรงงานทางตรง  และค่าใช้จ่ายการผลิต  ในการคำนวณหาต้นทุนการผลิตของสินค้าโดยทั่วไปจะนำต้นทุนทั้ง 2 ประเภทรวมกันและคิดเป็นต้นทุนการผลิต  ต้นทุนการผลิตอาจจะมีการคำนวณได้หลายวิธีแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วิธีการคำนวณตัวเลขต้นทุน  หรือจำนวนเงินของต้นทุนการผลิตทั้ง  3  ประเภทที่จะนำมาคิดเป็นต้นทุนของสินค้า
            1.  วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิต
                        การคำนวณต้นทุนการผลิตแบ่งได้  3  วิธีดังนี้
1.1       การบัญชีต้นทุนจ่ายจริง
1.2       การบัญชีต้นทุนการผลิต
1.3       การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน
1.1       การบัญชีต้นทุนจ่ายจริง (Actual Cost Accounting) 
การบัญชีต้นทุนจ่ายจริงจะยึดหลักที่ว่าการคิดต้นทุนของสินค้าที่ผลิตจะใช้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดมารวมกันเป็นต้นทุนการผลิตของสินค้า
ต้นทุนการผลิต = วัตถุทางตรงเกิดจริง + ค่าแรงทางตรงเกิดจริง + ค่าใช้จ่ายการผลิตเกิดจริง
1.2       การบัญชีต้นทุนปกติ (Normal Cost  Accounting)
การคิดต้นทุนการผลิตสินค้า  ต้นทุนวัตถุทางตรง  และแรงงานทางตรงสามารถคำนวณได้คอนข้างแน่นอนว่าเป็นของสินค้าแต่ละหน่วยเท่าใด  และสามารถทราบได้ทันทีที่ผลิตสินค้าเสร็จ  แต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตไม่อาจคำนวณคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าได้ทันทีเมื่อผลิตสินค้าเสร็จ  ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนใหญ่เป็นต้นทุนทางอ้อม  ต้องอาศัยการปันส่วนต้นทุนให้กับสินค้าแต่ละหน่วย  ดังนั้น  จึงต้องรอจนสิ้นงวด  หรือส้นเดือน  เมื่อทราบแน่ชัดว่ามีค่าใช้จ่ายการผลิตเกิดขึ้นทั้งหมดเท่าใด  และผลิตสินค้าได้เท่าใด  จึงจะสามารปันส่วนต้นทุนดังกล่าวให้กับสินค้าแต่ละชนิดหรือแต่ละหน่วยตามเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ทำให้การคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าล่าช้า  ดังนั้น  ในกรณีที่กิจการต้องการทราบต้นทุนการผลิตของสินค้าทันทีเมื่อผลิตสินค้าเสร็จเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดราคาขาย  กิจการก็อาจใช้วิธีการคิดต้นทุนการผลิตสินค้าที่ผลิตโดยวิธีต้นทุนปกติ (Normal Costing) ซึ่งเป็นวิธีคิดต้นทุนของสินค้าที่ให้ผลใกล้เคียงกับต้นทุนจ่ายจริงเพราะการคิดต้นทุนสินค้าตามวิธีต้นทุนปกติจะคิดต้นทุนวัตถุดิบทางตรงและแรงงานทางตรงโดยใช้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง  ส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตจะคิดจากอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตที่กำหนดขึ้นล่วงหน้า
ต้นทุนการผลิต = วัตถุทางตรงเกิดจริง + ค่าแรงงานทางตรงเกิดจริง +   ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน
                        กิจการที่ใช้ระบบบัญชีต้นทุนปกติจะต้องมีการกำหนดอัตราค่าใช่จ่ายการผลิตขึ้นล่วงหน้า  เรียกว่า  อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน  (Applied Manufacturing Overhead Rate) เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานระหว่างทำ
                        การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน
                        จากที่กล่าวมาตอนต้นแล้วว่า  กี่คิดต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าเป็นต้นทุนการผลิตของแต่ละแผนก  หรือของสินค้าแต่ละหน่วยนั้น  จำเป็นต้องอาศัยการปันส่วนโดยเลือกใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมในการปันส่วน  การกำหนดอัตราค่าใช่จ่ายการผลิตขึ้นล่วงหน้าเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิต  ที่จะคิดเข้าเป็นต้นทุนการผลิตของแต่ละงวดนั้นคำนวณได้จากสูตรดังนี้
 




                                จากสูตรข้างต้นจะเห็นว่าการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานนั้นจะต้องพิจาณาถึงสิ่งต่อไปนี้ก่อน  คือ
ก.       หน่วยของกิจกรรม หมายความว่า  จะเลือกกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานต่อหน่วยของกิจกรรมชนิดใด  เช่น  ต่อหน่วยสินค้า  ต่อชั่วโทงแรงงานทางตรง  ต่อหน่วยเครื่องจักร  หรือต่อต้นทุนวัตถุดิบทางตรง  หรือต่อต้นทุนแรงงานทางตรง  เป็นต้น
ข.       ระดับของกิจกรรมหรือระดับกำลังการผลิต หมายความว่าจะเลือกกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิต  ณ  ระดับกิจกรรมใด  ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายการผลิตมีลักษณะเป็นต้นทุนผสม  คือ  มีทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร
ดังนั้นการกำหนดอัตราค่าใช่จ่ายการผลิตคิดเข้างาน  จึงพิจาณาอย่างรอบคอบว่าควรจะเลือกกำหนด  ณ  ระดับกิจกรรมใดจึงจะเหมาะสม  เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานงวดนั้น ๆ ใกล้เคียงหรือเท่ากับค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริง  ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าที่คิดตามต้นทุนปกติใกล้เคียงกับต้นทุนจริง
                อย่างไรก็ตามการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานโดยทั่วไปมักเลือกกำหนด  ณ  ระดับกำลังการผลิต  1  ระดับ  คือ
                        1. กำหนด  ณ  ระดับกำลังการผลิตที่คาดว่าจะทำจริง (Actual Expected Capacity) อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานที่กำหนดขึ้น  ณ  ระดับกำลังการผลิตที่คาดว่าจะทำจริงนั้นใช้เป็นอัตราระยะสั้น  คือ ปีต่อปี  หรืออัตราที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้สำหรับกำหนดขึ้นเพื่อใช้สำหรับระยะยาว
ค.      อัตราที่กำหนดขึ้นจะใช้อัตราเดียวทั้งโรงงาน  หรือใช้อัตราแยกสำหรับแต่ละแผนก 
การที่จะตัดสินใจใช้อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเป็นอัตราเดียวทั้งโรงงาน  หรือใช้เป็นอัตราแยกสำหรับแต่ละแผนกนั้นจะต้องพิจาณาว่าหน่วยของกิจกรรมของแผนกผลิตต่าง ๆ เหมือนกันหรือไม่  ถ้าอัตราการใช้ค่าใช้จ่ายการผลิตของแผนกต่าง ๆ ไม่แตกต่างกันมากก็อาจกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเป็นอัตราเดียวทั้งโรงงาน  เรียกว่า  อัตราปะจำโรงงาน (Plant Wide Rate)  แต่ถ้าหน่วยของกิจกรรมบางแผนกเป็นชั่วโมงแรงงานทางตรงและบางแผนกเป็นชั่วโมงเครื่องจักรหรือค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้น และอัตราการใช้ไม่เหมือนกันในแผนกต่าง ๆ ก็ควรกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเป็นอัตราแยกสำหรับแต่ละแผนก  เรียกว่า  อัตราประจำแผนก (Departmental Rate)




                1.3  การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน  (Standard Cost Accounting
                        การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน  หมายถึง  ต้นทุนการผลิตที่กิจการได้กำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างมีหลักเกณฑ์  ณ  ระดับการผลิตหนึ่งและภายใต้สภาวการณ์ที่กำหนด  กี่กำหนดมาตรบานการผลิตจะกำหนดว่าการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยนั้นได้ใช้ปัจจัยการผลิต  คือ  วัตถุดิบทางตรง  ค่าแรงงานทางตรง  และค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด  ต้นทุนมาตรฐานจะได้จากการวิเคราะห์การปฏิบัติงานในอดีตที่ผ่านมา  โดยนำตัวเลขมาพิจารณากับเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต  หรือได้จากการทดลองผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแล้วกำหนดเป็นมาตรฐานการผลิต
ต้นทุนการผลิต  วัตถุทางตรงมาตรฐาน  +  ค่าแรงงานทางตรงมาตรฐาน + ค่าใช้จ่ายการผลิตมาตรฐาน
2.  การบัญชีต้นทุนรวม  และการบัญชีต้นทุนผันแปร 
          ในกิจการอุตสาหกรรมซึ่งผลิตสินค้าเพื่อขายต้นทุนการผลิตจะประกอบด้วย วัตถุทางตรง  ค่าแรงงานทางตรง  และค่าใช้จ่ายการผลิต
            วัตถุทางตรงและแรงงานทางตรงเป็นต้นทุนการผลิตที่ผันแปรไปตามกิจกรรมการผลิต  ส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนกึ่งผันแปร  เช่น  ค่าเช่าอาคาร  โรงงาน  เป็นต้นทุนคงที่  ค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้าโรงงาน  เป็นต้นทุนกึ่งผันแปร
            ต้นทุนกึ่งผันแปรเป็นต้นทุนที่มีทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่  และส่วนที่เป็นต้นทุนผันแปรรวมกันอยู่หากต้องการแบ่งแยกต้นทุนทั้งสองส่วนนี้ออกจากกันก็มีวิธีการคำนวณหลายวิธี  อาทิวิธีจุดต่ำสุด-จุดสูงสุด  (The high – Low point Method) ที่จะช่วยแบ่งแยกต้นทุนคงที่  และต้นทุนผันแปรออกจากต้นทุนกึ่งผันแปรได้  ทำให้สามารถจัดจำแนกต้นทุนการผลิตสินค้าเสียใหม่เป็น  2  ประเภท  คือ
            1.  ต้นทุนการผลิตผันแปร  ซึ่งประกอบด้วย  วัตถุทางตรง  แรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
            2.  ต้นทุนการผลิตคงที่  ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่  การจำแนกต้นทุนการผลิตสินค้าดังกล่าวทำให้เกิดวิธีการนำเสนอข้อมูลต้นทุนสินค้า  2  วิธีได้แก่
                        2.1  วิธีการบัญชีต้นทุนรวม
                        2.2  วิธีการบัญชีต้นทันผันแปร
            2.1  วิธีการบัญชีต้นทุนรวม
                        การบัญชีต้นทุนรวม (Full Costing หรือ Absorption Costing) การคิดต้นทุนการผลิตวิธีนี้จะนำต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต  ได้แก่  วัตถุทางตรง  แรงงานทางตรง  และค่าใช้จ่ายการผลิต  โดยจะนำต้นทุนทั้ง  3  ประเภทมารวมกันและถือเป็นต้นทุนของสินค้าต้นทุนต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกเฉลี่ยเข้าเป็นต้นทันของสินค้าตามจำนวนที่ผลิต
                        วัตถุทางตรง                               เป็นต้นทุนผันแปรในการผลิต
                        ค่าแรงทางตรง                            เป็นต้นทุนผันแปรในการผลิต
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร             เป็นต้นทุนผันแปรในการผลิต
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่                  เป็นต้นทุนคงที่ในการผลิต
                        วัตถุทางตรง  ค่าแรงทางตรง  และค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร  เป็นต้นทุนการผลิตที่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต  จึงสามารถกำหนดต้นทุนนั้นเข้าโดยตรงกับสินค้าที่ผลิตได้
                        การบัญชีต้นทุนรวม  มีการคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตล่วงหน้า  โดยนำค่าใช้จ่ายการผลิตที่งบประมาณไว้ล่วงหน้า  หารด้วยปริมาณกิจกรรมการผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติซึ่งอาจจะเป็นจำนวนหน่วยของสินค้าที่ผลิตได้  หรือจำนวนชั่วโมงทำงาน  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติก็ได้
                        สรุป 
                        ต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดในการผลิตซึ่งได้แก่  ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่จะคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ผลิตในงวดบัญชีนั้น ๆ กล่าวคือต้นทุนการผลิตของสินค้าต่อหน่วย  เท่ากับวัตถุทางตรงต่อหน่วย  +  ค่าแรงทางตรงต่อหน่วย  +  ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรต่อหน่วย + ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ต่อหน่วย
                        ตัวอย่างการคิดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยวิธีการบัญชีต้นทุนรวมในการผลิตสินค้า  1  หน่วยประกอบด้วย
                                วัตถุทางตรง                               10  บาท
                        ค่าแรงทางตรง                            15  บาท
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร             8    บาท
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่                  20  บาท
             ต้นทุนการผลิตสินค้า  1  หน่วย  เท่ากับ  10 + 15 + 8 + 20  =  53 บาท
                        2.2  วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร
                                    การบัญชีต้นทุนผันแปรบางครั้งเรียกว่า  การบัญชีต้นทุนทางตรง (Direct Costingหรือ  Variable Costing) การคิดต้นทุนการผลิตในวิธีนี้จะนำเฉพาะต้นทุนผันแปรในการผลิต  ได้แก่  วัตถุทางตรง  ค่าแรงทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรมาคำนวณเป็นต้นทุนการผลิตส่วนต้นทุนการผลิตคงที่จะมานำมาคำนวณเป็นต้นทุนของสินค้า  แต่นำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายของงวดโดยถือเป็นต้นทุนตามงวดเวลา (Period Cost)
                        สรุป 
                        ในการคิดต้นทุนสินค้าตามวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรจะนำเฉพาะต้นทุนผันแปรในการผลิตมาคำนวณเป็นต้นทุนสินค้า  กล่าวคือ  ต้นทุนการผลิตของสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ  วัตถุทางตรง ต่อหน่วย  +  ค่าแรงทางตรงต่อหน่วย + ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรต่อหน่วย
                        ตัวอย่างการคิดคำนวณในวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร
                        วัตถุทางตรง                               10  บาท
                        ค่าแรงทางตรง                            15  บาท
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร             8    บาท
            ต้นทุนในการผลิตสินค้า  1  หน่วย  เท่ากับ  10  +  15  +  8  =  33  บาท
3.  การเปรียบเทียบงบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวมและวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร
          การจัดทำงบกำไรขาดทุนตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวมและตามวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรสามารถแยกได้  3  กรณีคือ
                        3.1  กรณีปริมาณผลิตจริงเท่ากับปริมาณขาย
                                    ปริมาณผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติเท่ากับปริมาณผลิตจริง

3.2       กรณีปริมาณผลิตจริงมากกว่าปริมาณขาย
ปริมาณผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติน้อยกว่าปริมาณผลิตจริง
3.3       กรณีปริมาณการผลิตน้อยกว่าปริมาณขาย
ปริมาณผลิต ณ ระดับกำลังการผลิตปกติมากกว่าปริมาณผลิตจริง

โครงสร้างงบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวม
บริษัท......จำกัด
งบกำไรขาดทุน (วิธีการบัญชีต้นทุนรวม)
  สำหรับงวด............สิ้นสุด..............                                     บาท
ขาย                                                                                                                                                                         xx
ต้นทุนขาย                                                                                                                                                             xx
            สินค้าคงเหลือต้นงวด  (ต้นทุนผลิตผันแปร + ต้นทุนผลิตคงที่)                              xx
                สินค้าที่ผลิตงวดนี้ (ต้นทุนผลิตผันแปร + ต้นทุนผลิตคงที่)                                     xx
            สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                                                                                                xx
            หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด  (ต้นทุนผลิตผันแปร + ต้นทุนผลิตคงที่)                 xx
            ต้นทุนขายก่อนรายการปรับปรุง                                                                                       xx
            *บวก  หรือ หัก ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานต่ำหรือสูงไป (ถ้ามี)                     xx
กำไรขั้นต้น                                                                                                                     xx
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร                                                                             xx
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่                                                                                                            xx          
                                                                                                                                                                xx           xx
กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ                                                                                                                                  xx

            *รายการปรับปรุงจะเป็นการปรับปรุงในเรื่องของค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานต่ำหรือสูงไป  ซึ่งจะได้จากการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนสินค้าที่ผลิตจริงของแต่ละงวดบัญชีกับจำนวนสินค้าที่ผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติ
            การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงหรือต่ำไป
                        การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตคอเข้างานสูงหรือต่ำไปจะทำโดยการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหน่วย  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติ  กับจำนวนหน่วยที่ผลิตจริง  ผลแตกต่างที่ได้คูณด้วยอันตราต้นทุนผลิตคงที่ต่อหน่วย  ผลลัพธ์จะเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงหรือต่ำไป  ตัวอย่างเช่น
                        จำนวนหน่วยที่ผลิตจริง                             =          35,000             หน่วย
                        จำนวนหน่วย ณ ระดับกำลังการผลิตปกติ    =          30,000             หน่วย
                        ผลแตกต่างกำลังการผลิต                          =            5,000           หน่วย
                        สมมติ  ต้นทุนผลิตคงที่ต่อหน่วยเท่ากับ  5  บาท 
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงไป  =   5,000 x 5  = 25,000  บาท
            การคำนวณผลแตกต่างการผลิต  ซึ่งเกิดขึ้นจากต้นทุนผลิตคงที่  แบ่งได้  3  กรณีดังต่อไปนี้
 

                                                                       










โครงสร้างงบกำไรขาดทุนวิธีการต้นทุนบัญชีผันแปร
บริษัท.......จำกัด
งบกำไรขาดทุน  (วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร)
สำหรับงวด...........สิ้นสุด............
                                                                                                                       บาท
ขาย                                                                                                                      xx
ต้นทุนผันแปร :                                                                           xx
            ต้นทุนขายผันแปร                                                           xx
                        สินค้าคงเหลือต้นงวด  (ต้นทุนผลิตผันแปร)                            xx
                        บวก สินค้าที่ผลิตงวดนี้  (ต้นทุนผลิตผันแปร)                      xx
                                สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                            xx
                        หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด (ต้นทุนผลิตผันแปร)    xx           xx
                ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร                                                     xx          xx          
กำไรผันแปร                                                                                                       xx
ต้นทุนคงที่  :
            ต้นทุนผลิตคงที่                                                                           xx
                ค่าใช้จ่ายขายและการบริหารคงที่                                                    xx           xx
กำไรหรือขาดทุนสุทธิ                                                                                               xx

                                กิจการที่ใช้วิธีการบัญชีต้นทุน (Full Costing)  ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนเพื่อวัดผลการดำเนินงานประจำงวด  กำไรสุทธิ  หรือขาดทุนสุทธิของวิธีจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสินค้าคงเหลือต้นงวด  ปริมาณการผลิตสินค้าประจำงวด  และสินค้าคงเหลือปลายงวดจะเห็นได้ว่างบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวมจะแสดงกำไรขั้นต้นซึ่งไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่ากำไรเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการขายอย่างไร  และต้นทุนผลิตคงที่จะถือว่าและต้นทุนการผลิตคงที่จะถือเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของสินค้า
                        ส่วนกิจการที่ใช้วีการบัญชีต้นทุนผันแปร (Variable Costing) ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนเพื่อวัดผลการดำเนินงานประจำงวด  การคำนวณต้นทุนคำนวณเฉพาะต้นทุนผลิตผันแปรเพื่อวิเคราะห์จำนวนกำไรผันแปรซึ่งคำนวณได้ดังนี้
                        กำไรผันแปร (Contribution Margin) เกิดจากรายได้หักต้นทุนผันแปร
                        ส่วนต้นทุนผลิตคงที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น  และหมดประโยชน์ไปตามงวดบัญชีไม่มีความสัมพันธ์กับตัวสินค้า  และไม่มีมูลค่าเหลือในอนาคต
                        จำนวนกำไรผันแปรจากการคำนวณวิธีนี้เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าคุ้มกับต้นทุนคงที่หรือไม่  ฝ่ายบริหารอาจมองเห็นว่าผลการดำเนินงานของกิจการเป็นอย่างไร เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
            ตัวอย่าง
            ต่อไปนี้เป็นข้อมูลการผลิตและการขายสินค้าของ  บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด  ซึ่งเริ่มดำเนินงานในวันที่  1  มกราคม  2538
                                                                       
จำนวนหน่วย                                                                                        2538                       2539                       2540
            ขาย                                                                   50,000             60,000             40,000
            ผลิต                                                                  60,000             70,000             24,000
ราคาขายต่อหน่วย (บาท)                                                        32                            32                           32
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปรต่อหน่วย (บาท)                                 4                                4                             4   
ต้นทุนผลิตผันแปรต่อหน่วย  (บาท)                                                      12                            12                           12
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่ต่อปี  (บาท)                                     120,000                 120,000                 120,000
ต้นทุนผลิตคงที่ต่อปี  (บาท)                                             240,000           240,000           240,000

ต้นทุนผลิตผันแปรต่อหน่วย  จำนวน  12  บาท  ประกอบด้วย
            วัตถุดิบทางตรง                       6   บาท
            ค่าแรงงานทางตรง                   4   บาท
            ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร         2   บาท
บริษัทกำหนดระดับการผลิต  ณ  กำลังการผลิตปกติต่อปีเท่ากับ  60,000  หน่วย
            กำลังการผลิตปกติ (Normal Capacity) หมายถึงระดับการผลิตของกิจการที่คาดว่าจะทำการผลิตได้  เป็นระดับการผลิตที่พอกับการขายโดยการคำนวณระดับการผลิต  ณ  กำลังการผลิตปกติจะคำนึงถึงการขายในระยะยาว  ตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลโดยจะอยู่ในช่วง  3-5  ปี  ปกติการกำหนดกำลังการผลิตปกติการกำหนดกำลังการผลิตปกติจะอยู่ระหว่าง  75 % ถึง  90 % ของกำลังการผลิตที่จะผลิตได้
            เนื่องจากต้นทุนการผลิตคงที่มีลักษณะแตกต่างกันไปจากต้นทุนผลิตผันแปรกล่าวคือต้นทุนการผลิตคงที่ที่งบประมาณขึ้นเพื่อคิดเข้างานในแต่ละปีไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการผลิตของแต่ละปีไม่ว่าจะทำการผลิตปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม  ซึ่งคำนวณต้นทุนการผลิตคงที่ต่อหน่วยแล้ว ต้นทุนต่อหน่วยของต้นทุนผลิตคงที่เป็นอัตราเดียวกันเพื่อเป็นบานในการกำหนดราคา  และการตีราคาสินค้าคงเหลือ  ดังนั้นการกำหนดต้นทุนผลิตคงที่ต่อหน่วยให้มีอัตราเดียวกันจึงต้องเลือกระดับกิจกรรมการผลิตที่เหมาะสม  โดยทั่วไปจะใช้ระดับกำลังการผลิตปกติ  เพราะยังถือว่าเป็นระดับการผลิตที่ควรผลิตปริมาณนี่ทุก ๆ ปี  โดยไม่คำนึงว่าจะผลิตจริงเป็นจำนวนเท่าใด  ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
           


จากโจทย์
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ต่อหน่วย     =              240,000                 =              4   บาท
                                                                                  60,000
ต้นทุนการผลิตของสินค้าต่อหน่วย  ตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวม  (Full Costing) คำนวณได้ดังนี้
            ต้นทุนผลิตผันแปรต่อหน่วย          12  บาท                        (6+4+2)
            บวก  ต้นทุนผลิตคงที่ต่อหน่วย        4  บาท           
            รวมต้นทุนผลิตคงที่ต่อหน่วย        16  บาท   
ต้นทุนการผลิตสินค้าต่อหน่วย  ตามวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร (Variable Costing)  คำนวณได้ดังนี้
            ต้นทุนผลิตต่อหน่วย  เท่ากับ         12  บาท  (6+4+2)
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า  อัตราค่าใช้จ่ายหารผลิตคิดเข้างาน  คำนวณจากมากค่าใช้จ่ายหารผลิตที่งบประมาณล่วงหน้า  หารด้วยปริมาณกิจกรรมการผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติ  ดังนั้น การที่บัญชีค่าใช้จ่ายหารผลิตที่เกิดขึ้นจริงไม่เท่ากับบัญชีค่าใช่จ่ายการผลิตคิดเข้างาน  จึงเป็นผลมาจากเหตุ  2  ประการคือ
1.              ค่าใช้จ่ายการผลิตที่งบประมาณไว้ล่วงหน้าไม่เท่ากับค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริง
2.              ปริมาณกิจกรรมการผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติไม่เท่ากับปริมารกิจกรรมการผลิต  ณ 
ระดับการผลิตจริง
            ในบทนี้จะเป็นการศึกษากรณีที่บัญชีต้นค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเท่ากับ  มากกว่า หรือน้อยกว่าบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน ด้วยเหตุปริมาณกิจกรรมการผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติเท่ากับมากกว่า หรือน้อยกว่าปริมาณกิจกรรมการผลิต  ณ  ระดับการผลิตจริง
3.1       งบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวม  และวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรสำหรับปี  2538  กรณี
ปริมาณการผลิตจริงมากกว่าปริมาณขาย และปริมาณผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติเท่ากับปริมาณผลิตจริงมากกว่า






บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด
งบกำไรขาดทุน (วิธีการบัญชีต้นทุนรวม)
สำหรับงวด  1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2538
                                                                                                                                 บาท
ขาย  (50,000 x 32 )                                                                                          1,600,000
ต้นทุนขาย
            สินค้าคงเหลือต้นงวด                                                                 0
            สินค้าผลิตงวดนี้ (60,000 x 16)                                        960,000
            สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                                       960,000
            หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด (10,000 x 16)                      160,000              800,000        
กำไรขั้นต้น                                                                                                           800,000
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร (50,000 x 4)                                200,000
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่                                                         120,000              320,000
กำไรสุทธิ                                                                                                             480,000                             
            ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเท่ากับค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงจึงไม่ต้องมีรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายการผลิตสูงไปหรือต่ำไป
            ปริมาณผลิตจริง                                                  =          60,000   หน่วย
                ปริมาณการผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติ          =           60,000   หน่วย
            ผลต่างกำลังการผลิต                                            =                          0   หน่วย
            ต้นทุนการผลิตคงที่ต่อหน่วย                                 =                   4   บาท
            ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงหรือต่ำไป                 =           0 
                                                                                    =                   0  บาท
บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด
งบกำไรขาดทุน  (วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร)
   สำหรับงวด  1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2538                              บาท
ขาย   (50,000 x 32 )                                                                                                      1,600,000
ต้นทุนผันแปร
            ต้นทุนขายผันแปร
                        สินค้าคงเหลือต้นงวด                                              0 
                        สินค้าผลิตงวดนี้  (60,000 x 12 )                   720,000
                        สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                    720,000
                        หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด (10,000 x 12)     120,000      600,000
            ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร  (50,000 4 )                                        200,000                                800,000
กำไรผันแปร                                                                                                                   800,000
ต้นทุนคงที่ 
                ต้นทุนผลิตคงที่                                                                           240,000
            ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่                                                         120,000           360,000
กำไรสุทธิ                                                                                                                       440,000
           
 ปี  2538  กำไรสุทธิวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  480,000  บาท  และกำไรสุทธิวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร  เท่ากับ  440,000  บาท  จะเห็นว่ากำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวมสูงกว่าวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรเท่ากับ  40,000  บาท  สาเหตุเนื่องจากต้นทุนผลิตสินค้าต่อหน่วยของวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  16  บาท  (ต้นทุนผลิตผันแปร  12  บาท  บวกต้นทุนผลิตคงที่  4  บาท)  แต่ต้นทุนผลิตสินค้าต่อหน่วยของวิธีต้นทุนผันแปร  เท่ากับ  12  บาท  จะเป็นผลทำให้สินค้าคงเหลือต้นทุนไม่เท่ากัน  ดังนี้

            สินค้าคงเหลือวิธีการบัญชีต้นทุนรวม           =              10,000  x  16  =  160,000  บาท
            สินค้าคงเหลือวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร      =          10,000  12  =  120,000  บาท

            ในทางบัญชีจะถือว่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจะไม่ถือเป็นต้นทุนขายของงวดนี้และจำกลายเป็นต้นทุนขายของงวดบัญชีต่อไป  เมื่อต้นทุนสินค้าคงเหลือของวิธีการบัญชีต้นทุนรวมสูงกว่า  ต้นทุนสินค้าคงเหลือของวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร  ซึ่งจะเป็นผลทำให้กำไรของวิธีการบัญชีต้นทุนรวมสูงกว่าวิธีต้นทุนผันแปรเท่ากับ  40,000  บาท  ซึ่งสามารถแสดงการพิสูจน์ได้ ดังนี้




           







            **  สาเหตุของต้นทุนผลิตสินค้าคงเหลือของ  2  วิธี  ไม่เท่ากันเนื่องจากต้นทุนผลิตคงที่ที่รวมอยู่ในสินค้าคงเหลือ  ดังนั้นในการพิสูจน์ผลกำไรหรือผลขาดทุนที่ต่างกัน  จะใช้เฉพาะต้นทุนคงที่ในการผลิตเท่านั้น
3.2  งบกำไรขาดทุนวีการบัญชีต้นทุนรวม  และวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรสำหรับปี  2539  กรณีปริมาณผลิตจริงมากกว่าปริมาณขายและปริมาณผลิตระดับกำลังการผลิตปกติน้อยกว่าปริมาณผลิตจริง



บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด
งบกำไรขาดทุน  วิธีการบัญชีต้นทุนรวม)
สำหรับงวด 1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2539
                                                                                                                                    บาท
ขาย (60,000 x 32 )                                                                                                                                           1,920,000
ต้นทุนขาย
                สินค้าคงเหลือต้นงวด  (10,000 x 16 )                                  160,000
            สินค้าผลิตงวดนี้  (70,000 x 16 )                                     1,120,000
            สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                                       1,280,000
            หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด (20,000 x 16)                         320,000
            ต้นทุนขายก่อนรายการปรับปรุง                                            960,000
            หัก  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงไป (10,000 x 4 )                40,000                                920,000
กำไรขั้นต้น                                                                                                                     1,000,000
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร (60,000 x 4 )                                  240,000                   
ค่าใช้จ่ายและบริหารคงที่                                                                 120,000                       360,000
กำไรสุทธิ                                                                                                                          640,000

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงไป  คำนวณมาจาก    
                        ปริมาณผลิตจริง                                                  =              70,000  หน่วย
                        ปริมาณผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติ               =          60,000  หน่วย
                                ผลต่างกำลังการผลิต                                            =          10,000  หน่วย
            ต้นทุนการผลิตคงที่ต่อหน่วย                                             =                   4  หน่วย
                        ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงไป                           =          10,000 x 4
                                                                                                                                =              40,000  บาท
บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด
งบกำไรขาดทุน  (วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร)
สำหรับงวด  1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2539
                                                                                                                                    บาท
ขาย  (60,000 x 32)                                                                                                       1,920,000
ต้นทุนผันแปร 
                ต้นทุนขายผันแปร :
                        สินค้าคงเหลือต้นงวด  (10,000 x 12)             120,000
                        สินค้าผลิตงวดนี้  (70,000 x 12)                  840,000
                        สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                   960,000
                        หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด (20,000 x 12)   240,000       720,000                              
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร  (60,000 x 4)                               240,000           960,000
กำไรผันแปร                                                                                                                   960,000
ต้นทุนคงที่
            ต้นทุนผลิตคงที่                                                                           240,000
            ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่                                                         120,000           360,000
กำไรสุทธิ                                                                                                                       600,000
         
          ปี  2539  กำไรสุทธิวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  640,000  บาท  และกำไรสุทธิวิธีการบัญชีต้นทุน ผันแปรเท่ากับ  600,000  บาท  กำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวมสูงกว่าวิธีการบัญชีต้นทุนรวมสูงกว่าวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรเท่ากับ  40,000  บาท  เนื่องจากต้นทุนผลิตคงที่ซึ่งรวมอยู่ในต้นทุนของสินค้าคงเหลือ  สามารถพิสูจน์ได้ดังนี้










           

จะเห็นว่างบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวมรับภาระต้นทุนการผลิตคงที่รวมเท่ากับ  200,000  บาท  แต่วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรรับภาระต้นทุนการผลิตคงที่รวมเท่ากับ  240,000  บาท  ซึ่งมากกว่าวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  40,000  บาท จึงเป็นผลทำให้กำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวมสูงกว่ากำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรเท่ากับ  40,000  บาท
3.3  งบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวม และวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรสำหรับปี  2540  กรณีปริมาณผลิตจริงน้อยกว่าปริมาณขายและปริมาณผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกตอมากกว่าปริมาณการผลิตจริง
บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด
งบกำไรขาดทุน  (วิธีการบัญชีต้นทุนรวม)
สำหรับงวด  1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2540
                                                                                                                                    บาท
ขาย (40,000 x 32)                                                                                                         1,280,000
ต้นทุนขาย
            สินค้าคงเหลือต้นงวด (20,000 x 16)                                            320,000
            สินค้าผลิตงวดนี้ (24,000 x 16)                                                    384,000
            สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                                                    704,000
            หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด (4,000 x 16)                                         64,000
            ต้นทุนขายก่อนรายการปรับปรุง                                                     640,000
            บวก  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานต่ำไป (36,000 x 4)                      144,000                                                                                                                                                           784,000
กำไรขั้นต้น                                                                                                                     496,000
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร (40,000 x 4)                                            160,000
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่                                                                     120,000           280,000
กำไรสุทธิ                                                                                                                       216,000      
ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานต่ำไป  คำนวณมาจาก
            ปริมาณผลิตจริง                                      =          24,000  หน่วย
            ปริมาณผลิต  ณ  ระดับกำลังการผลิตปกติ   =          60,000  หน่วย
            ผลต่างกำลังการผลิต                                =              36,000  หน่วย
ต้นทุนการผลิตคงที่ต่อหน่วย                                 =                    4  บาท
ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานต่ำไป                          =              36,000 x 4
                                                                        =          144,000  บาท
บริษัท  นภาวรรณ  จำกัด
งบกำไรขาดทุน  (วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปร)
สำหรับงวด  1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม  2540
                                                                                                                                    บาท
ขาย (40,000 x 32)                                                                                                        1,280,000
ต้นทุนผันแปร :
            ต้นทุนขายผันแปร :
                        สินค้าคงเหลือต้นงวด (20,000 x 12)        240,000
                        สินค้าผลิตงวดนี้ (24,000 x 12)               288,000
                        สินค้ามีไว้เพื่อขาย                                                528,000
                        หัก  สินค้าคงเหลือปลายงวด  (4,000 x 12)   48,000          480,000
            ค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร  (40,000 x 4)                               160,000           640,000
กำไรผันแปร                                                                                                                   640,000
ต้นทุนคงที่  :
            ต้นทุนผลิตคงที่                                                                           240,000
            ค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่                                                         120,000           360,000
กำไรสุทธิ                                                                                                                       280,000
                ปี  2540  กำไรสุทธิวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  216,000 บาท  และกำไรสุทธิวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรเท่ากับ  280,000  บาท  กำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรสูงกว่าวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  64,000  บาท  เนื่องจากต้นทุนผลิตคงที่ซึ่งอยู่รวมอยู่ในต้นทุนของสินค้าคงเหลือสามารถพิสูจน์ได้ดังนี้








           
จะเห็นว่างบกำไรขาดทุนวิธีการบัญชีต้นทุนรวมรับภาระต้นทุนการผลิตคงที่รวมเท่ากับ  304,000  บาท  แต่วิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรรับภาระต้นทุนการผลิตคงที่รวมเท่ากับ  240,000  บาท  ซึ่งน้อยกว้าวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  64,000  บาท  จึงเป็นผลทำให้เกิดกำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนผันแปรสูงกว่ากำไรสุทธิตามวิธีการบัญชีต้นทุนรวมเท่ากับ  64,000  บาท
4.  ข้อดีและข้อเสียของการบัญชีต้นทุนผันแปร
            การบัญชีต้นทุนผันแปรมีประโยชน์ต่อฝ่ายบริการในการวิเคราะห์และตัดสินใจว่าสินค้าชนิดใด  หรือหน่วยงานใดมีความสามารถในการทำกำไรเป็นอย่างไร  โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงราคาขายและต้นทุน  ซึ่งระบบนี้จะมีข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้
ข้อดีของระบบบัญชีต้นทุนผันแปร
1.  อัตราส่วนกำไรผันแปรช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในเรื่องผลิตภัณฑ์ว่าผลิตภัณฑ์ใดควรส่งเสริมการขาย  และผลิตภัณฑ์ใดควรยกเลิก  โดยดูผลตอบแทนของยอดขายในแต่ละผลิตภัณฑ์
2.  ช่วยในการกำหนดราคาขายได้ เพราะต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยต้นทุนผันแปร
3.  กำไรผันแปรช่วยฝ่ายบริหารในการคำนวณจำนวนหน่วยที่ต้องการขาย  ณ  จุดกำไรที่ต้องการได้  โดยนำต้นทุนคงที่บวกด้วยกำไรที่ต้องการหารด้วยกำไรผันแปรต่อหน่วย
4.  ในกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมที่มีราคาขายที่แน่นอน  กำไรผันแปรจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการประเภทนี้เพราะปัญหาของธุรกิจ  คือ  การประสบกับปัญหาในเรื่องของต้นทุนผันแปรทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ควรจะเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะยอมรับได้ และขายในปริมาณเท่าไร
5.  การใช้วิธีการต้นทุนผันแปรจะทำให้เห็นว่า  กำไรของบริษัทเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของการขาย  ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของการผลิต
6.  กำไรผันแปรช่วยในการเปลี่ยนแปลงและกำหนดนโยบายในด้านการลดราคาขาย  การให้ส่วนลดพิเศษ  การให้ของแถม  การเพิ่มโบนัสเพื่อเพิ่มการขาย  การตัดสินใจดังกล่าวมีหลักการสำคัญ  คือ  ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะต้องน้อยกว่ารายได้เพิ่ม  สามารถคำนวณได้โดยการเปรียบเทียบต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกับยอดขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
7.  กำไรผันแปรช่วยให้ฝ่ายบริหารเลือกวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กิจการ  โดยฝ่ายบริหารจะใช้กำไรผันแปรเป็นหลักสำคัญสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้อง คือ  วิธีกำไรผันแปรจะทำให้รู้กำไรผันแปรต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด  ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ใดให้กำไรกิจการมากที่สุด
ข้อเสียของการบัญชีต้นทุนผันแปร
1. การตัดสินใจโดยใช้กำไรผันแปรจะใช้ได้ในการตัดสินใจระยะสั้นมากกว่าการตัดสินใจระยะยาว เพราะการตัดสินใจโดยใช้กำไรผันแปรจะมีแนวโน้มของราคาขายต่ำจนทำให้ราคาขายต่ำกว่าต้นทุนรวมซึ่งจะส่งผลต่อกำไรรวมของธุรกิจ
2.  อาจเป็นสาเหตุทำให้เสียลูกค้าของกิจการในระยะยาวในกรณีที่ราคาขายที่ตั้งไว้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายคงที่กิจการอาจต้องนำสินค้าบางส่วนไปขายในตลาดอื่นที่นอกเหนือไปจากตลาดปกติของกิจการในราคาที่ต่ำกว่ากำหนดขึ้นโดยใช้ต้นทุนรวม
5.  ข้อดีและข้อเสียของการบัญชีต้นทุนรวม
ข้อดีของระบบการบัญชีต้นทุนรวม
1.  วิธีนี้แสดงต้นทุนของสินค้าได้ครบถ้วน  ทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตผันแปรและคงที่ทำให้ผู้บริหารและบุคคลภายนอกได้รับข้อมูลที่ดีต่อการตัดสินใจ  โดยเฉพาะการตัดสินใจระยะยาว  เช่นการกำหนดราคาขายของสินค้า  รวมทั้งการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกิจการ  เป็นต้น
2.  จัดทำง่ายและสะดวก  เพราะวิธีนี้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไป
ข้อเสียของระบบบัญชีต้นทุนรวม
วิธีนี้ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการของฝ่ายบริหารในการตัดสินใจระยะสั้น  เช่น  การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการรับคำสั่งซื้อเป็นพิเศษ  เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น