3.1.54

บทที่ 9 การจัดทำงบประมาณเพื่อวางแผนกำไร (Budgeting for Profit Planning)

บทที่ 9
การจัดทำงบประมาณเพื่อวางแผนกำไร
(Budgeting for Profit Planning)

การดำเนินธุรกิจจะก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนที่ดีนอกเหนือไปจากการปฏิบัติงานที่ดี การวางแผนจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งการวางแผนจะถือเป็นหน้าที่สำคัญของฝ่ายบริหาร โดยการวางแผนจะต้องวางแผนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงมีความจำเป็นต้องตัดสินใจเพื่อกำหนดแนวทางหรือขั้นตอนปฏิบัติ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับกิจการที่กำลังกระทำ หรือจะกระทำต่อไปอยู่เสมอ
ปัจจุบันผู้บริหารและผู้ลงทุนตลอดจนผู้ปฏิบัติงานได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนของธุรกิจ ให้มีระบบมากขึ้น ซึ่งเครื่องมือในการวางแผนนี้ก็คือการจัดทำงบประมาณ การจัดทำงบประมาณที่ดีนั้นเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานควรมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดทำงบประมาณ โดยให้แต่ละหน่วยงานย่อยวางแผน และจัดทำงบประมาณในส่วนความรับผิดชอบของตัวเอง งบประมาณของหน่วยงานย่อย เมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันจะกลายเป็นงบประมาณของทั้งกิจการ
1. ความหมายของงบประมาณ
งบประมาณ หมายถึง การวางแผนทางการเงินของธุรกิจที่เขียนออกมาในรูปของตัวเลขเกี่ยวกับรายได้มาและใช้ไปของทรัพยากรธุรกิจอย่างในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคตหรือกล่าวได้ว่า การจัดทำงบประมาณจะเป็นแผนสรุปเชิงปริมาณ ซึ่งงบประมาณที่วางไว้นั้นจะต้องเขียนให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา หรือหน่วยการผลิตและการจัดทำงบประมาณจะต้องมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในอนาคตเช่น รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี เป็นต้น โดยจะต้องระบุระยะเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดไว้ในงบประมาณด้วย
2. ประโยชน์ของงบประมาณ
การจัดทำงบประมาณจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินงานของธุรกิจดังต่อไปนี้
2.1 ด้านการวางแผน กิจการที่นำระบบงบประมาณมาใช้จะต้องมีการวางแผนหรือตั้งเป้าหมายการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า หรือเป็นการวางแผนการดำเนินงานในอนาคตซึ่งงบประมาณจะเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการบริหารงาน โดยช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถทราบข้อมูลและปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการประเมินผลปฏิบัติงาน
2.2 ด้านการประสานงาน งบประมาณเป็นการประสานงานในการดำเนินงาน เพราะการทำงบประมาณทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้เป้าหมายในการทำงานจึงพยายามช่วยกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของกิจการ เช่น เมื่อฝ่ายขายต้องการขยายตลาดโดยลดราคาสินค้าและเพิ่มจำนวนหน่วยที่ขาย ฝ่ายผลิตจะต้องพิจารณาว่าสามารถขยายกำลังการผลิตได้หรือไม่ ตลอดจนฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบจะต้องจัดหาวัตถุดิบให้พอกับการผลิต และฝ่ายการเงินต้องเตรียมเงินเพื่อให้พอสำหรับค่าใช้จ่ายด้วย
2.3 ด้านการควบคุม เนื่องจากหน่ายงานมีเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้รับผิดชอบจะนำผลที่เกิดขึ้นจริงตามรายงานต่างๆ มาเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามงบประมาณ หากเกิดข้อแตกต่างกันจะทำการวิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อแตกต่างนั้นและทำการแก้ไขต่อไป สรุปแล้วงบประมาณจะเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ โดยเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณที่วางไว้


3. ชนิดของงบประมาณ
ในการจัดทำงบประมาณของธุรกิจ จะแบ่งงบประมาณได้ 2 ชนิด คือ งบประมาณพิเศษ (Special Budget) และงบประมาณหลัก (Master Budget)
3.1 งบประมาณพิเศษ เป็นงบประมาณที่จัดทำขึ้น เมื่อมีความจำเป็นเป็นครั้งคราว เช่น เมื่อต้องการขยายโรงงาน ต้องการซื้อเครื่องจักรใหม่มาแทนเครื่องจักรเก่าที่ชำรุดเป็นการเร่งด่วน หรือกรณีที่กิจการประสบภัยธรรมชาติต้องดำเนินการแก้ไข เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น วิธีการจัดทำงบประมาณพิเศษดำเนินการเช่นเดียวกับการทำงบประมาณเงินลงทุน เพราะงบประมาณพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณเงินลงทุน
3.2 งบประมาณหลัก เป็นงบประมาณที่จัดทำขึ้นเป็นปกติประจำปี ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารงานของธุรกิจทุกด้าน ซึ่งสามารถแยกตามลักษณะงานของธุรกิจได้ 2 ลักษณะคือ
3.2.1 งบประมาณการดำเนินงาน
- งบประมาณขาย
- งบประมาณจำนวนหน่วยที่ผลิต
- งบประมาณเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรง
- งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
- งบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต
- งบประมาณต้นทุนการผลิต
- งบประมาณต้นทุนขาย
- งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
- งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
- งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ
3.2.2 งบประมาณการเงิน ประกอบด้วย
- งบประมาณเงินลงทุน
- งบประมาณเงินสด
- งบดุลโดยประมาณ

3.2.1 งบประมาณการดำเนินงาน
การจัดทำงบประมาณการดำเนินงานเป็นการแสดงถึงการดำเนินงานของกิจการในงวดต่อไปนี้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. งบประมาณการขาย ในการจัดทำงบประมาณการดำเนินงานจะต้องจัดทำงบประมาณการขายเป็นลำดับแรก ซึ่งการจัดทำงบประมาณการขายจะต้องเริ่มต้นจากการให้ฝ่ายขายประมารสินค้าที่จะขายได้ในแต่ละงวดโดยพิจารณาจากข้อมูล และประสบการณ์ในอดีต การคาดคะเนภาวะเศรษฐกิจของตลาด และคู่แข่ง เมื่อได้ข้อมูลปริมาณการขายจากฝ่ายขายแล้ว ฝ่ายบัญชีจะนำมาแปลงเป็นราคาที่คาดว่าจะขายได้ จากตัวเลขประมาณการปริมาณที่ขายของแผนกขายสามารถนำมาจัดทำงบประมาณขายสินค้าได้ดังต่อไปนี้


ตัวอย่าง
บริษัท ธนิษฐา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายสินค้า 2 ชนิด ได้วางแผนการขายสินค้าของบริษัทไว้ 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ ก. และผลิตภัณฑ์ ข. ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด ผลิตจากแผนกผลิตเดียวกัน บริษัทได้ประมาณยอดขายไว้สำหรับปี 2541 ดังนี้

บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณขาย
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาสที่
รายการ 1 2 3 4 รวม
จำนวนหน่วยที่ขาย (หน่วย)
ผลิตภัณฑ์ ก. 3,000 4,000 6,000 4,000 17,000
ผลิตภัณฑ์ ข. 1,000 3,000 2,000 4,000 10,000
จำนวนเงินที่ขาย (บาท)
ผลิตภัณฑ์ ก. @ 500 บาท 1,500,000 2,000,000 3,000,000 2,000,000 8,500,000
ผลิตภัณฑ์ ข. @ 300 บาท 300,000 900,000 600,000 1,200,000 3,000,000
1,800,000 2,900,000 3,600,000 3,200,000 11,500,000

2. งบประมาณการผลิต
จากตัวเลขประมาณการปริมาณสินค้าที่ฝ่ายขายตั้งเป้าหมายการขายไว้ ฝ่ายผลิตจะต้องวางแผน การผลิตสินค้าให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องการขาย ซึ่งในการประมาณปริมาณที่ผลิตจะต้องเริ่มจากการกำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือที่ต้องเก็บรักษาไว้ในแต่ละงวดโดยกิจการจะต้องไม่เก็บสินค้าคงเหลือไว้มากจนเกินไป หรือ ไม่น้อยจนเกินไป ปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องเก็บรักษาควรมีความสอดคล้องกับปริมาณขายที่ได้ประมาณไว้แล้ว
หลังจากทราบจำนวนหน่วยที่คาดว่าจะขายจากงบประมาณการขาย และจำนวนหน่วยของสินค้าคงเหลือที่ควรจะมีแล้ว สามารถนำมาคำนวณจำนวนหน่วยที่ต้องการผลิต ได้ดังนี้

จำนวนหน่วยที่คาดว่าจะขาย xx หน่วย
บวก สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือปลายงวด xx หน่วย
ปริมาณสินค้าที่ต้องการ xx หน่วย
หัก สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือต้นงวด xx หน่วย
จำนวนหน่วยที่ต้องผลิต xx หน่วย
จากโจทย์ตัวอย่างเดิม บริษัท ธนิษฐา จำกัด กำหนดระดับสินค้าคงเหลือเท่ากับ 60% ของจำนวนที่คาดว่าจะขายได้ในงวดหน้า
สมมติว่างบประมาณการขายของไตรมาสที่ 1 ปี 2542 สำหรับผลิตภัณฑ์ ก. เท่ากับ 5,000 หน่วย และผลิตภัณฑ์ ข. เท่ากับ 4,000 หน่วย
บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณจำนวนหน่วยผลิต
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาสที่
รายการ 1 2 3 4 รวม
ผลิตภัณฑ์ ก. (หน่วย)
จำนวนหน่วยที่ขาย 3,000 4,000 6,000 4,000 17,000
บวก สินค้าคงเหลือปลายงวด 2,400 3,600 2,400 3,000 3,000
ปริมาณที่ต้องการ 5,400 7,600 8,400 7,000 20,000
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,800* 2,400 3,600 2,400 1,800
ปริมาณที่ผลิต 3,600 5,200 4,800 4,600 18,200
ผลิตภัณฑ์ ข. (หน่วย)
จำนวนหน่วยที่ขาย 1,000 3,000 2,000 4,000 10,000
บวก สินค้าคงเหลือปลายงวด 1,800 1,200 2,400 2,400 2,400
ปริมาณที่ต้องการ 2,800 4,200 4,400 6,400 12,400
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 600** 1,800 1,200 2,400 600
ปริมาณที่ผลิต 2,200 2,400 3,200 4,000 11,800

* สินค้าคงเหลือต้นงวดของผลิตภัณฑ์ ก. จำนวน 1,800 หน่วย คำนวณได้จาก 3,000 หน่วย (ปริมาณขายไตรมาสที่ 1 ปี 2541) คูณด้วย 60% = 1,800 หน่วย
สินค้าคงเหลือต้นงวดของผลิตภัณฑ์ ก. จำนวน 3,000 หน่วย คำนวณได้จาก 3,000 หน่วย (ปริมาณขายไตรมาสที่ 1 ปี 2542) คูณด้วย 60% = 3,000 หน่วย
** สินค้าคงเหลือต้นงวดของผลิตภัณฑ์ ข. จำนวน 600 หน่วย คำนวณได้จาก 1,000 หน่วย (ปริมาณขายไตรมาสที่ 1 ปี 2541) คูณด้วย 60% = 600 หน่วย
สินค้าคงเหลือต้นงวดของผลิตภัณฑ์ ข. จำนวน 2,400 หน่วย คำนวณได้จาก 4,000 หน่วย (ปริมาณขายไตรมาสที่ 1 ปี 2542) คูณด้วย 60% = 2,400 หน่วย
3. งบประมาณเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรง กิจการสามารถทราบปริมาณที่ผลิตจากงบประมาณการผลิต กิจการจะนำข้อมูลที่ได้นี้ไปจัดทำงบประมาณเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรงว่า ถ้าผลิตให้เป็นไปตามที่งบประมาณไว้จะต้องใช้วัตถุดิบทางตรงจำนวนเท่าไร นอกจากนี้สามารถนำข้อมูลไปจัดทำงบประมาณการซื้อวัตถุดิบทางตรงด้วย การจัดทำงบประมาณซื้อวัตถุดิบทางตรงจะต้องอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
1) จำนวนวัตถุดิบที่ต้องใช้ต่อหน่วยตามต้นทุนมาตรฐาน
2) จำนวนหน่วยผลิตของสินค้าสำหรับงวด
3) จำนวนวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด
4) จำนวนต้นทุนวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด

ตัวอย่าง
โจทย์ตัวอย่างเดิม บริษัท ธนิษฐา จำกัด ในปี 2541 กำหนดอัตราการใช้วัตถุดิบทางตรง ดังต่อไปนี้
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ก. 1 หน่วย จะใช้วัตถุดิบ A 10 หน่วย ราคาหน่วยละ 20 บาท
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ข. 1 หน่วย จะใช้วัตถุดิบ B 10 หน่วย ราคาหน่วยละ 10 บาท
บริษัทมีนโยบายในการมีวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด = 50% ของวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในงวดหน้า

บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณการใช้วัตถุทางตรง
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาสที่
รายการ 1 2 3 4 รวม
วัตถุดิบ A
จำนวนปริมาณที่ผลิต(หน่วย) 3,600 5,200 4,800 4,600 18,200
อัตราที่ต้องใช้ต่อ 1 หน่วยผลิต 10 10 10 10 10
จำนวนวัตถุดิบทางตรงเบิกใช้(หน่วย)36,000 52,000 48,000 46,000 182,000
ราคาต่อหน่วย 20 20 20 20 20
จำนวนวัตถุดิบทางตรงเบิกใช้ (บาท)720,000 1,040,000 960,000 920,000 3,640,000
วัตถุดิบ B
จำนวนปริมาณที่ผลิต(หน่วย) 2,200 2,400 3,200 4,000 11,800
อัตราที่ต้องใช้ต่อ 1 หน่วยผลิต 10 10 10 10 10
จำนวนวัตถุดิบทางตรงเบิกใช้(หน่วย)22,000 24,000 32,000 40,000 118,000
ราคาต่อหน่วย 10 10 10 10 10
จำนวนวัตถุดิบทางตรงเบิกใช้ (บาท) 220,000 240,000 320,000 400,000 1,180,000
รวมวัตถุทางตรงเบิกใช้ (บาท) 940,000 1,280,000 1,280,000 1,320,000 4,820,000

บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาสที่
วัตถุดิบคงเหลือปลายงวด 1 2 3 4
วัตถุดิบ A (หน่วย) 26,000 24,000 23,000 28,000
วัตถุดิบ B (หน่วย) 12,000 16,000 20,000 11,000
สมมติให้จำนวนผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2542
- ผลิตภัณฑ์ ก = 5,600 หน่วย
- ผลิตภัณฑ์ ข = 2,200 หน่วย
การคำนวณวัตถุดิบคงเหลือปลายงวดคำนวณได้ดังนี้
วัตถุดิบ A งบประมาณการผลิตไตรมาสที่ 2 5,200 หน่วย
คูณ ปริมาณการใช้ต่อ 1 หน่วย 10 หน่วย
รวมจำนวนที่ใช้ 52,000 หน่วย
ต้องการวัตถุดิบคงเหลือ 0.50 หน่วย
วัตถุดิบคงเหลือปลายงวดที่ต้องการไตรมาสที่ 1 26,000 หน่วย
การคำนวณในไตรมาสอื่นๆ จะคำนวณลักษณะเดียวกัน
วัตถุดิบ B งบประมาณการผลิตไตรมาสที่ 2 2,400 หน่วย
คูณ ปริมาณการใช้ต่อ 1 หน่วย 10 หน่วย
รวมจำนวนที่ใช้ 24,000 หน่วย
ต้องการวัตถุดิบคงเหลือ 0.50 หน่วย
วัตถุดิบคงเหลือปลายงวดที่ต้องการไตรมาสที่ 1 12,000 หน่วย
การคำนวณในไตรมาสอื่นๆ จะคำนวณลักษณะเดียวกัน เมื่อได้งบประมาณการผลิต และงบประมาณวัตถุดิบคงเหลือปลายงวดที่ต้องการ ก็สามารถทำงบประมาณการซื้อวัตถุดิบดังต่อไปนี้
บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณซื้อวัตถุดิบ
สำหรับปี่ สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
รายการ ไตรมาสที่ 1 2 3 4 รวม
วัตถุดิบ A (หน่วย)
วัตถุดิบ A ตามงวดผลิต 36,000 52,000 48,000 46,000 182,000
บวก วัตถุดิบปลายงวด 26,000 24,000 23,000 28,000 28,000
จำนวนวัตถุดิบ A ที่ต้องการ 62,000 76,000 71,000 74,000 210,000
หัก วัตถุดิบต้นงวด 18,000* 26,000 24,000 23,000 18,000
วัตถุดิบที่ต้องการซื้อทั้งหมด 44,000 50,000 47,000 51,000 192,000
ราคาซื้อต่อหน่วย 20 20 20 20 20
จำนวนเงินที่ต้องการจ่ายซื้อ (บาท)880,000 1,000,000 940,000 1,020,000 3,840,000
วัตถุดิบ B (หน่วย)
วัตถุดิบ B ตามงวดผลิต 22,000 24,000 32,000 40,000 118,000
บวก วัตถุดิบปลายงวด 12,000 16,000 20,000 11,000 11,000
จำนวนวัตถุดิบ B ที่ต้องการ 34,000 40,000 52,000 51,000 129,000
หัก วัตถุดิบต้นงวด 11,000* 12,000 16,000 20,000 11,000
วัตถุดิบที่ต้องการซื้อทั้งหมด 23,000 28,000 36,000 31,000 118,000
ราคาซื้อต่อหน่วย 10 10 10 10 10
จำนวนเงินที่ต้องการจ่ายซื้อ (บาท) 230,000 280,000 360,000 310,000 1,180,000
รวมจำนวนเงินที่ต้องซื้อทั้งหมด (บาท) 1,110,000 1,280,000 1,300,000 1,330,000 5,020,000
*เป็นการประมาณวัตถุดิบคงเหลือต้นงวด สมมติวัตถุดิบคงเหลือปลายงวดไตรมาสที่ 4 ปี 2540
- วัตถุ A = 18,000 หน่วย
- วัตถุ B = 11,000 หน่วย

4. งบประมาณค่าแรงงานทางตรง งบประมาณค่าแรงงานทางตรงเป็นงบประมาณส่วนหนึ่งที่ประกอบอยู่ในงบประมาณต้นทุนการผลิต สำหรับค่าแรงจะแยกเป็น 2 ส่วน คือค่าแรงทางตรงและค่าแรงทางอ้อม
ค่าแรงงานทางตรงจะเป็นค่าแรงงานที่เกิดขึ้นกับการผลิตสินค้าโดยตรง
ค่าแรงงานทางตรงจะเป็นค่าแรงงานที่ไม่สามารถคิดเข้าโดยตรงกับสินค้าที่ผลิต ซึ่งค่าแรงงานทางอ้อมจะไปรวมอยู่ในการจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
งบประมาณค่าแรงงานทางตรงจะจัดทำโดยอาศัยตัวเลขในงบประมาณการผลิต โดยนำเอาจำนวนหน่วยที่ต้องการผลิต คูณด้วย ชั่วโมงการทำงานต่อ 1 หน่วยผลิตภัณฑ์ การจัดทำงบประมาณค่าแรงงานทางตรงจะต้องอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
1) จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการผลิตสินค้า
2) จำนวนหน่วยผลิตของสินค้าสำหรับงวด
3) อัตราค่าจ้าง

ตัวอย่าง จากโจทย์ตัวอย่างเดิม บริษัท ธนิษฐา จำกัด สมมุติให้ในปี 2541
- ผลิตภัณฑ์ ก. 1 หน่วยใช้เวลาการผลิต 1 ชั่วโมงอัตราค่าแรง 10 บาทต่อชั่วโมง
- ผลิตภัณฑ์ ข. 1 หน่วยใช้เวลาการผลิต 2 ชั่วโมงอัตราค่าแรง 12 บาทต่อชั่วโมง
บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ผลิตภัณฑ์ ก. ไตรมาส 1 2 3 4 รวม
ปริมาณการผลิต (หน่วย) 3,600 5,200 4,800 4,600 18,200
ชั่วโมงการทำงานต่อหน่วย 1 1 1 1 1
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ 3,600 5,200 4,800 4,600 18,200
ค่าแรงต่อชั่วโมง 10 10 10 10 10
รวมจำนวนเงินค่าแรงงาน (บาท) 36,000 52,000 48,000 46,000 182,000
ผลิตภัณฑ์ ข. 0
ปริมาณการผลิต (หน่วย) 2,200 2,400 3,200 4,000 11,800
ชั่วโมงการทำงานต่อหน่วย 2 2 2 2 2
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ 4,400 4,800 6,400 8,000 23,600
ค่าแรงต่อชั่วโมง 12 12 12 12 12
รวมจำนวนเงินค่าแรงงาน (บาท) 52,800 57,600 76,800 96,000 283,200
รวมจำนวนชั่วโมงที่ใช้ทั้งหมด 8,000 10,000 11,200 12,600 41,800
รวมจำนวนเงินค่าแรงงานทั้งหมด 88,800 109,600 124,800 142,000 465,200
5. งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นงบประมาณส่วนหนึ่งที่ประกอบอยู่ในงบประมาณต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายการผลิตจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรและค่าใช้จ่ายการ
ผลิตคงที่ ซึ่งค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรจะผันแปรไปตามจำนวนหน่วยที่ผลิต
ตัวอย่าง
จากโจทย์เดิม บริษัท ธนิษฐา จำกัด ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรต่อชั่วโมงการทำงานของค่าแรงทางตรง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วัตถุดิบทางตรง 3 บาท
ค่าแรงทางอ้อม 2 บาท
ค่าล่วงเวลา 1 บาท
ค่าภาษีเงินได้ 1 บาท
ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา 3 บาท
รวม 10 บาท
บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณใช้จ่ายในการผลิต
ไตรมาส 1 2 3 4 รวม
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร (บาท)
ค่าวัตถุดิบทางอ้อม 24,000 30,000 33,600 37,800 125,400
ค่าแรงงานทางอ้อม 16,000 20,000 22,400 25,200 83,600
ค่าล่วงเวลา 8,000 10,000 11,200 12,600 41,800
ค่าภาษีเงินได้ 8,000 10,000 11,200 12,600 41,800
ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา 24,000 30,000 33,600 37,800 125,400
รวมค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร 80,000 100,000 112,000 126,000 418,000
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ (บาท)
เงินเดือนผู้จัดการโรงงาน 50,000 50,000 50,000 50,000 200,000
ค่าภาษีโรงเรือน 15,000 15,000 15,000 15,000 60,000
ค่าเบี้ยประกันภัย 7,000 7,000 7,000 7,000 28,000
ค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงาน 20,000 20,000 20,000 20,000 80,000
ค่าเสื่อมราเครื่องจักร 12,500 12,500 12,500 12,500 50,000
รวมค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ 104,500 104,500 104,500 104,500 418,000
รวมค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งหมด (บาท) 184,500 204,500 216,500 230,500 836,000
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างานต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง = 836,000 บาท = 20 บาทต่อชั่วโมง
41,800 ชั่วโมง*
* จำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรง 41,800 = ชั่วโมง จากงบประมาณค่าแรงงานทางตรง
การคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิตผันแปรกะประมาณ = ชั่วโมงแรงงานทางตรง x ค่าใช้จ่ายการผลิต
ผันแปรโดยประมาณต่อ 1 ชั่วโมง
เช่น ค่าวัตถุดิบทางอ้อม 24,000 บาท = ชั่วโมงแรงงานทางตรงไตรมาสที่ 1 (8,000) x 3
หมายเหตุ ในการจัดทำงบประมาณเงินสด ถ้าสมมตว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้จ่ายไปจำนวนเท่ากันทั้ง 4 ไตรมาส จะมีค่าใช้จ่ายโดยประมาณไตรมาสละ 176,500 บาท โดยไม่นำค่าเสื่อมราคามารวมด้วย เพราะค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
ค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจากเงินสด = 836,000 - (80,000 + 50,000)
4
= 706,000 = 176,500 บาท ต่อไตรมาส
4
6. งบประมาณต้นทุนการผลิต เมื่อจัดทำงบประมาณวัตถุดิบ งบประมาณแรงงานทางตรง และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตแล้วนำงบประมาณทั้ง 3 ชนิด มาจัดทำงบประมาณต้นทุนการผลิตดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง โจทย์ตัวอย่างเดิม บริษัท ธนิษฐา จำกัด
บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณต้นทุนผลิต
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาส
1 2 3 4 รวม
ผลิตภัณฑ์ ก. (บาท)
ต้นทุนวัตถุดิบ A ใช้ไป 720,000 1,040,000 960,000 920,000 3,640,000
ต้นทุนแรงงานทางตรง 36,000 52,000 48,000 46,000 182,000
ค่าใช้จ่ายในการผลิต 72,000 104,000 96,000 92,000 364,000
รวมต้นทุนการผลิต 828,000 1,196,000 1,104,000 1,058,000 4,186,000
ต้นทุนต่อหน่วย 230 230 230 230
ผลิตภัณฑ์ ข. (บาท)
ต้นทุนวัตถุดิบ B ใช้ไป 220,000 240,000 320,000 400,000 1,180,000
ต้นทุนแรงงานทางตรง 52,800 57,600 76,800 96,000 283,200
ค่าใช้จ่ายในการผลิต 88,000 96,000 128,000 160,000 472,000
รวมต้นทุนการผลิต 360,800 393,600 524,800 656,000 1,935,200
ต้นทุนต่อหน่วย 164 164 164 164

- ต้นทุนวัตถุดิบ A และ B จากงบประมาณการใช้วัตถุดิบทางตรง
- ต้นทุนแรงงาน จากงบประมาณค่าแรงงานทางตรง
- อัตราค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างานต่อ 1 ชั่วโมงแรงงานทางตรง = 20 บาท
- ต้นทุนต่อหน่วย = ต้นทุนการผลิต
จำนวนหน่วยการผลิต
หมายเหตุ จำนวนหน่วยผลิตจากงบประมาณจำนวนหน่วยผลิต

7. งบประมาณต้นทุนสินค้าที่ขาย การจัดทำงบประมาณต้นทุนสินค้าที่ขายจะจัดทำภายหลัง จากจัดทำงบประมาณต้นทุนการผลิตแล้ว ซึ่งการจัดทำจะต้องคำนึงถึงสินค้าคงเหลือต้นงวดกับสินค้าคงเหลือปลายงวดด้วย เพราะการคำนวณหาต้นทุนสินค้าที่ขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าผลิตสำเร็จงวดนี้ - สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือปลายงวด
การคำนวณต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้นงวด จะคำนวณโดยนำข้อมูลจากงบประมาณจำนวนหน่วยที่ผลิต ดังต่อไปนี้
ไตรมาส
1 2 3 4
ผลิตภัณฑ์ ก.
สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด (หน่วย) 1,800 2,400 3,600 2,400
ราคาต่อหน่วย 200 230 230 230
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด (บาท) 360,000 552,000 828,000 552,000
ผลิตภัณฑ์ ข.
สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด (หน่วย) 600 1,800 1,200 2,400
ราคาต่อหน่วย 150 164 164 164
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด (บาท) 90,000 295,200 196,800 393,600
สมมุติ ราคาต่อหน่วยของสินค้าสำเร็จรูปต้นงวดที่ปรากฏในงบดุล ณ วันต้นงวด
- ผลิตภัณฑ์ ก. = 200 บาท
- ผลิตภัณฑ์ ข. = 150 บาท






การคำนวณต้นทุนของสินค้าคงเหลือปลายงวด จะคำนวณโดยจัดทำข้อมูลจากงบประมาณจำนวนหน่วยที่ผลิต ดังต่อไปนี้
ไตรมาส
1 2 3 4
ผลิตภัณฑ์ ก.
สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด (หน่วย) 2,400 3,600 2,400 3,000
ราคาต่อหน่วย 230 230 230 230
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด (บาท) 552,000 828,000 552,000 690,000
ผลิตภัณฑ์ ข.
สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด (หน่วย) 1,800 1,200 2,400 2,400
ราคาต่อหน่วย 164 164 164 164
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด (บาท) 295,200 196,800 393,600 393,600

บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณต้นทุนขาย
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ ก. (บาท) 1 2 3 4 รวม
สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด 360,000 552,000 828,000 552,000 360,000
บวก ต้นทุนการผลิต 828,000 1,196,000 1,104,000 1,058,000 4,186,000
สินค้ามีไว้เพื่อขาย 1,188,000 1,748,000 1,932,000 1,610,000 4,546,000
หัก สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด 552,000 828,000 552,000 690,000 690,000
ต้นทุนขาย 636,000 920,000 1,380,000 920,000 3,856,000
ผลิตภัณฑ์ ข. (บาท)
สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด 90,000 295,200 196,800 393,600 90,000
บวก ต้นทุนการผลิต 360,800 393,600 524,800 656,000 1,935,200
สินค้ามีไว้เพื่อขาย 450,800 688,800 721,600 1,049,600 2,025,200
หัก สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด 295,200 196,800 393,600 393,600 690,000
ต้นทุนขาย 155,600 492,000 328,000 656,000 1,631,600
รวมต้นทุนขาย (บาท) 791,600 1,412,000 1,708,000 1,576,000 5,487,600

8. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร และงบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย ในการจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการขายไม่จำเป็นจะต้องแบ่งเป็นไตรมาส เพราะค่าใช้จ่ายในการบริหารส่วนมากจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ หรือกึ่งคงที่ ดังนั้น แม้ว่าจะตัดเป็นไตรมาสก็จะไม่ได้ประโยชน์มากนัก ในการควบคุมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายประเภทนี้เพื่อความสะดวกจึงถือว่ารายจ่ายประเภทนี้มีลักษณะสม่ำเสมอตลอด 4 ไตรมาส
บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541

เงินเดือนฝ่ายบริหาร 100,000 บาท
เงินเดือนพนักงาน 50,000
ค่าประกันภัย 5,000
ค่าบำรุงรักษา 7,000
ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน 3,000
ของใช้สิ้นเปลืองสำนักงาน 3,000
ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน 10,000
รวม 178,000 บาท


สมมุติว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารเกิดขึ้นสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ดังนั้นเงินสดที่จ่ายสำหรับค่าใช้จ่าย ในการบริหาร 1 ไตรมาส เท่ากับ
ค่าใช้จ่ายในการบริหารจ่ายจากเงินสด = 178,000 – ค่าเสื่อมราคา (10,000)
4
= 168,000
4
= 42,000 บาทต่อไตรมาส
ค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด = 178,000
4
= 44,500 บาทต่อไตรมาส



บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541

เงินเดือนพนักงานขายและค่านายหน้า 70,000 บาท
ค่าโมษณา 7,000
ค่ารับรอง 5,000
ของใช้สิ้นเปลือง 1,000
ค่าพาหนะ 5,000
ค่าเสื่อมราคารถส่งของ 9,000
รวม 97,000 บาท

สมมุติ ว่าค่าใช้จ่ายในการขายเกิดขึ้นสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ดังนั้น เงินสดที่จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายขาย 1 ไตรมาส เท่ากับ
ค่าใช้จ่ายในการขายจ่ายจากเงินสด = 97,000 – ค่าเสื่อมราคา (9,000)
4
= 88,000
4
= 22,000 บาทต่อไตรมาส

ค่าใช้จ่ายในการขายที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด = 97,000
4
= 24,250 บาทต่อไตรมาส

9. งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ คือ งบประมาณการดำเนินงาน ซึ่งเป็นงบแสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่าได้รับกำไรตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนโดยประมาณ จะนำข้อมูลจากงบประมาณการขาย งบประมาณต้นทุนขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย และงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร มาใช้ในการจัดทำงบประมาณนี้





บริษัท ธนิษฐา จำกัด
กำไรขาดทุนโดยประมาณ
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาส บาท
1 2 3 4 รวม
ขาย 1,800,000 2,900,000 3,600,000 3,200,000 11,500,000
ต้นทุนขาย 791,600 1,412,000 1,708,000 1,576,000 5,487,600
กำไรขั้นต้น 1,008,400 1,488,000 1,892,000 1,624,000 6,012,400
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 44,500 44,500 44,500 44,500 178,000
963,900 1,443,500 1,847,500 1,579,500 5,834,400
ค่าใช้จ่ายในการขาย 24,250 24,250 24,250 24,250 97,000
กำไรก่อนภาษี 939,650 1,419,250 1,823,250 1,555,250 5,737,400
ภาษี 30 % 1,721,220
กำไรสุทธิหลังภาษี 4,016,180

3.2.2 งบประมาณการเงิน
งบประมาณการเงิน หมายถึง การวางแผนเกี่ยวกับการรับและการจ่ายเงินของกิจการในงวดต่อไป ซึ่งประกอบด้วย
1. งบประมาณเงินลงทุน
2. งบประมาณเงินสด
3. งบดุลโดยประมาณ

1. งบประมาณเงินลงทุน เป็นงบประมาณที่แสดงรายการเกี่ยวกับเงินลงทุนในสินทรัพย์ประจำต่าง ๆ กิจการมีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการซื้อสินทรัพย์ถาวรมาใช้ในกิจการเพราะการจ่ายเงินประเภทนี้เป้นการจ่ายเงินจำนวนที่สูง เช่น การซื้อเครื่องจักร ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ เมื่อกิจการได้วางแผนการลงทุนไว้ล่วงหน้าแล้ว สามารถนำไปวางแผนในการหาเงินทุนได้อีกด้วย เช่น การกู้ยืมระยะยาว หรือระยะสั้น เป็นต้น






บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณเงินลงทุน
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541
ไตรมาส บาท
1 2 3 4 รวม
ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน 15,000 5,000 5,000 15,000 40,000
ซื้อรถส่งของ 100,000 - 100,000 - 200,000
ซื้อเครื่องจักร - 500,000 - - 500,000
รวมรายการจ่ายลงทุน 115,000 505,000 105,000 15,000 740,000

หมายเหตุ - สมมติว่ารายจ่ายการลงทุนทั้งหมดนี้จ่ายจากเงินสด
- สินทรัพย์ถาวรตามรายการข้างต้นเป็นการวางแผนการซื้อของปี 2541 ตลอดปี

2. งบประมาณเงินสด งบประมาณเงินสดเป็นงบประมาณที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการรับและจ่ายเงินสด ซึ่งเป็นแผนเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ธุรกิจเกิดภาวะเงินสดขาดมือหรือมีเงินสดอยู่ในมือมากเกินความจำเป็น การจัดทำงบประมาณเงินสดจะแสดงการรับและจ่ายเงินสดโดยแสดงรายละเอียดแยกตามระยะเวลา ซึ่งจะเป็นงบที่แสดงให้กิจการทราบฐานะเงินสดได้ล่วงหน้า และข้อมูลจากงบประมาณเงินสด จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการวางแผนจัดหาเงินสด และควบคุมการใช้เงินสด การจัดทำงบนี้จะต้องใช้ข้อมูลจากงบประมาณต่าง ๆ ที่จัดทำมาแล้วข้างต้นและใช้ประสบการณ์ หรือข้อมูลในอดีตมาเป็นส่วนในการจัดทำงบประมาณนี้ด้วย เช่น การเก็บหนี้จากการขายสินค้าในอดีตที่ผ่านมา เป็นต้น














บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบประมาณเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2541

ไตรมาส บาท
1 2 3 4 รวม
ยอดยกมาต้นงวด* 157,000 612,700 1,047,600 2,667,300 157,000
เก็บจากลูกหนี้**
30% ของไตรมาสก่อน 750,000 540,000 870,000 1,080,000 3,240,000
70% ของไตรมาสปัจจุบัน 1,260,000 2,030,000 2,520,000 2,240,000 8,050,000
รวมเงินสดรับ 2,167,000 3,082,700 4,437,600 5,987,300 11,447,000
หัก เงินสดจ่าย
วัตถุดิบทางตรง 1,110,000 1,280,000 1,300,000 1,330,000 5,020,000
ค่าแรงทางตรง 88,800 109,600 124,800 142,000 465,200
ค่าใช้จ่ายในการผลิต 176,500 176,500 176,500 176,500 706,000
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 42,000 42,000 42,000 42,000 168,000
ค่าใช้จ่ายในการขาย 22,000 22,000 22,000 22,000 88,000
รวมรายจ่าย 1,439,300 1,630,100 1,665,300 1,712,500 6,447,200
เงินสดคงเหลือ 727,700 1,552,600 2,772,300 4,274,800 4,999,800
หัก รายจ่ายลงทุน 115,000 505,000 105,000 15,000 740,000
เงินสดคงเหลือสิ้นงวด 612,700 1,047,600 2,667,300 4,259,800 4,259,800

*สมมุติเงินสดกะประมาณเมื่อต้นงวดในไตรมาสที่ 1 เท่ากับ 157,000 บาท
**เป็นการกะประมาณว่าจะเก็บเงินได้จากลูกหนี้ 70% ของยอดขายงวดนี้ และ 30% เป็นเงินที่เก็บได้จากลูกหนี้ของงวดที่แล้วคือไตรมาสที่ 4 ของปี 2540 ซึ่งมียอดขาย 2,500,000 บาท
- ค่าวัตถุดิบทางตรง จากงบประมาณซื้อวัตถุดิบ
- ค่าแรงทางตรง จากงบประมาณค่าแรงงานทางตรง
- ค่าใช้จ่ายในการผลิต จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิตหักค่าเสื่อมราคา
- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
- ค่าใช้จ่ายในการขาย จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
- รายจ่ายการลงทุน จากงบประมาณการลงทุน

3. งบดุลโดยประมาณ เป็นงบแสดงฐานะของกิจการที่คาดหมายไว้ล่วงหน้า ณ วันใดวันหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไร งบดุลโดยประมาณเป็นงบประมาณที่จัดทำขึ้นเป็นลำดับสุดท้ายหลังจากที่ได้จัดทำงบประมาณการดำเนินงาน งบประมาณเงินลงทุน และงบประมาณเงินสดแล้ว
การจัดทำงบดุลโดยประมาณอาศัยหลักเกณฑ์การทำบัญชีโดยทั่วไป โดยการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากงบประมาณต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับกับงบดุลที่มีอยู่ ณ ตอนต้นงวดซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. วัตถุดิบคงเหลือปลายงวด จากงบประมาณซื้อวัตถุดิบ
วัตถุดิบ A (28,000 x 20) = 560,000 บาท
วัตถุดิบ B (11,000 x 20) = 110,000 บาท
รวมวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด = 670,000 บาท
2. สินค้าคงเหลือปลายงวด จากงบประมาณต้นทุนขาย
ผลิตภัณฑ์ ก. = 690,000 บาท
ผลิตภัณฑ์ ข. = 393,600 บาท
รวมสินค้าคงเหลือปลายงวด = 1,083,600 บาท
3. ลูกหนี้คงเหลือปลายงวด จากงบประมาณขาย
30% ของยอดขายไตรมาสที่ 4 ปี 2541 ผลิตภัณฑ์ ก. ขายได้ = 2,000,000 บาท ผลิตภัณฑ์ ข. ขายได้ 1,200,000 บาท เท่ากับ 3,200,000 x 30% = 960,000 บาท
4. เงินสดคงเหลือปลายงวด จากงบประมาณเงินสด เท่ากับ 4,259,800 บาท
5. ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมราคาสะสมสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้
ค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงาน 80,000 บาท จากงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 50,000 บาท จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต
ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน 10,000 บาท จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ค่าเสื่อมราคารถส่งของ 9,000 บาท จากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
6. กำไรขาดทุนโดยประมาณ จากงบกำไรขาดทุนโดยประมาณ เท่ากับ 4,016,180 บาท ภาษีค้างจ่าย ณ วันปลายงวดจำนวน 1,721,220 บาท
7. งบประมาณการซื้อสินทรัพย์ถาวร จากงบประมาณการลงทุน
ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน 40,000 บาท
ซื้อรถส่งของ 200,000 บาท
ซื้อเครื่องจักร 500,000 บาท
ต่อไปนี้เป็นงบดุล ณ วันปลายงวด ปี 2540






บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541
สินทรัพย์ บาท
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด 157,000
ลูกหนี้ 750,000
วัตถุดิบ (360,000 + 110,000) 470,000
สินค้าสำเร็จรูป (360,000 + 90,000) 450,000
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,827,000
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
อาคารโรงงาน 800,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - อาคารโรงงาน 80,000 720,000
เครื่องจักร 250,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - เครื่องจักร 50,000 200,000
เครื่องใช้สำนักงาน 100,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม – เครื่องใช้สำนักงาน 20,000 80,000
รถส่งของ 350,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - รถส่งของ 10,000 340,000
รวมที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,340,000
รวมสินทรัพย์ทั้งสิ้น 3,167,000
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สิน
ไม่มีรายการหนี้สิน 0
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นสามัญ 2,000,000
กำไรสะสม 1,167,000
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 3,167,000


บริษัท ธนิษฐา จำกัด
งบดุลโดยประมาณ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541

สินทรัพย์ บาท
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด 4,259,800
ลูกหนี้ 960,000
วัตถุดิบ 670,000
สินค้าสำเร็จรูป 1,083,600
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 6,973,400
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
อาคารโรงงาน 800,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - อาคารโรงงาน (80,000 + 80,000) 160,000 640,000
เครื่องจักร (250,000 + 500,000) 750,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - เครื่องจักร (50,000 + 50,000) 10,000 650,000
เครื่องใช้สำนักงาน (100,000 + 40,000) 140,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - เครื่องใช้สำนักงาน (20,000 + 10,000) 30,000 110,000
รถส่งของ (350,000 + 200,000) 550,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม - รถส่งของ (10,000 + 9,000) 19,000 531,000
รวมที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,931,000
รวมสินทรัพย์ทั้งสิ้น 8,904,400
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สิน
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย 1,721,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นสามัญ 2,000,000
กำไรสะสม (1,167,000 + 4,016,180) 5,183,180 7,183,180
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 8,904,400


ลำดับงานก่อนหลังของงบประมาณที่จะจัดทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น