2.1.54

บทที่ 8 Capital Investment Decisions การตัดสินใจลงทุน

บทที่ 8
Capital Investment Decisions
การตัดสินใจลงทุน
บทนำ
การลงทุน หมายถึง การลงทุนในสินทรัพย์ลงทุน หรือโครงการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือผลตอบแทนแก่กิจการในระยะยาว
การวิเคราะห์แผนงานทางการเงินและผลตอบแทนที่กิจการจะได้รับจากโครงการลงทุนหรือกรลงทุนในสินทรัพย์ลงทุน โดยปกติมักจะหมายถึงสินทรัพย์ประจำที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี ซึ่งจะมีกิจกรรมดำเนินงานและก่อให้เกิดประโยชน์หรือผลตอบแทนเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรที่จะตัดสินใจลงทุนในโครงการลงทุนหรือสินทรัพย์ลงทุนนั้นๆ หรือไม่

วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1. สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างการตัดสินใจลงทุนในโครงการทีเกี่ยวข้องกัน และโครงการที่เป็นอิสระจากกันได้
2. สามารถคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน และอัตราตอบแทนทางบัญชี(หรืออัตราผลตอบแทนถั่วเฉลี่ย) และอธิบายกฎของการตัดสินใจลงทุนได้
3. สามารถใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิในการตัดสินใจของโครงการที่เป็นอิสระจากกันได้
4. สามารถใช้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในการตัดสินใจของโครงการที่เป็นอิสระจากกันได้
5. อภิปรายถึงบทบาทหน้าที่และมูลค่าการตรวจสอบในภายหลัง
6. สามารถอธิบายได้ว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิดีกว่าวิธีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน สำหรับโครงการที่มีความเกี่ยวข้องกัน
7. สามารถแปลงกระแสเงินสดขั้นต้นเป็นกระแสเงินสดหลังภาษีได้
8. สามารถอธิบายการตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมได้

ประเภทของการตัดสินใจลงทุน
(Types of Capital Investment Decisions)
องค์กรที่มีความเป็นไปได้ หรือมีความต้องการในการลงทุนในสินทรัพย์หรือโครงการลงทุนระยะยาว ลงทุนในกระบวนการผลิตใหม่ โรงงานใหม่ เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ โครงการเหล่านี้มักใช้ทุนมหาศาล และใช้เวลานานในการคืนทุน ทำให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจ หรือจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่จำกัดให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด โดยใช้วิธีและเทคนิคในการตัดสินใจลงทุน ดังนั้น ในการลงทุนระยะยาวจึงต้องอาศัยการตัดสินใจลงทุน (Capital Investment Decisions)

ลักษณะของการตัดสินใจลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
โครงการที่เกี่ยวข้องกัน (Mutually Excusive Projects) หมายถึงโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อตัดสินใจเลือกโครงการใดโครงการหนึ่งแล้ว ก็จะไม่ต้องเลือกโครงการอื่นอีก เช่น ต้องการซื้อเครื่องจักรชนิดหนึ่งสำหรับลดต้นทุนการผลิต เมื่อเลือกซื้อเครื่องจักรจากบริษัท A แล้วก็ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรจากบริษัทอื่นๆ อีก เป็นต้น ดังนั้น ในการพิจารณาเกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนจะต้องพิจารณาแต่ละโครงการเปรียบเทียบร่วมกันเพื่อเลือกที่จะให้ประโยชน์ต่อกิจการสูงที่สุด
โครงการที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Projects) หมายถึง โครงการลงทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกัน พิจารณาเลือกโครงการใดก็ได้ จะทำกี่โครงการก็ได้ เช่น ถ้าตัดสินใจลงทุนในโครงการ A และ B แล้ว ก็ยังสามารถที่จะลงทุนในโครงการอื่นอีกก็ได้ ถ้ากิจการมีจำนวนเงินทุนที่เพียงพอ โดยการพิจารณาแต่ละโครงการจะแยกออกจากกัน และกิจการจะทำการตัดสินใจลงทุนในโครงการใดบ้างก็ได้ถ้าผลจากการวิเคราะห์แล้ว โครงการนั้น ๆ ให้ผลตอบแทนตามเกณฑ์ที่กิจการกำหนด และมีจำนวนเงินลงทุนที่กิจการสามารถลงทุนได้

ตัวแบบในการคำนวณอัตราส่วนลด
(Non discounting Model)
ตัวแบบพื้นฐานของการตัดสินใจลงทุน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
ตัวแบบที่คิดอัตราส่วนลด (Discounting Model) ตัวแบบนี้จะเป็นวิธีที่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา
ตัวแบบที่ไม่คิดอัตราส่วนลด (Non discounting Model) ตัวแบบนี้จะเป็นวิธีที่ไม่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา

ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
ระยะเวลาคืนทุน เป็นตัวแบบหนึ่งของการวิเคราะห์โดยไม่คิดอัตราส่วนลด จึงเป็นการจัดช่วงระยะเวลาที่กิจการจะได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ในรูปของเงินสดคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายลงทุนในตอนแรก การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนอย่างง่าย ๆ ในกรณีที่ผลตอบแทนหรือต้นทุนที่ประหยัดไดในรูปของเงินสดหรือกระแสเงินสดเข้าเท่ากันทุกๆปี ตลอดอายุของโครงการลงทุนโครงการหนึ่ง ตัวอย่างเช่นบริษัทต้องการลงทุนเพื่อจะปรับปรุงเครื่องมือให้ดีขึ้นโดยมีต้นทุน 80,000 เหรียญ และในการลงทุนจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดสุทธิเข้าปีละ 40,000 เหรียญ ดังนั้นระยะเวลาคืนทุนของบริษัทในโครงการนี้จะเท่ากับ 2 ปี โดยมีสูตรคือ
ระยะเวลาคืนทุน (Pay back period) = เงินลงทุนเริ่มแรก original investment
กระแสเงินสดในแต่ละปี Annual cash flows
ในกรณีที่กระแสเงินสดเข้าในแต่ละปีไม่เท่ากัน (เงินสดสุทธิไม่เท่ากัน) การคำนวณระยะเวลาคืนทุนก็จะต้องใช้วีการคำนวณสะสมผลตอบแทนที่ละปี จนทำให้ได้จำนวนเท่ากับเงินที่ลงทุนครั้งแรก ตัวอย่างเช่น บริษัทมีเงินลงทุนเริ่มแรก เท่ากับ 100,000 เหรียญ และจะมีผลตอบแทนกลับคืนมาจำนวน 5 ปี ดังนี้คือ 30,000 , 40,000 , 50,000 , 60,000 และ 70,000 จะสามารถคำนวณหาได้โดย
30,000 (1ปี) + 40,000 (1ปี) + 30,000 (0.6ปี)
ในปีที่ 3 ต้องการผลตอบแทนกลับคืนอีก 30,000 (30,000 = 0.6 ปี)
50,000
ดังนั้นระยะเวลาคืนทุน = 2.6 ปี
ในการตัดสินใจลงทุนจากวิธีระยะเวลาคืนทุนจะเลือกโครงการที่มีระยะเวลาลงทุนสั้นที่สุด หรือมีผลตอบแทนกลับคืนมาคุ้มกับเงินที่ลงทุนไปเร็วที่สุด

กรณีในการคำนวณระยะเวลาคืนทุนของโครงการเท่ากันกับ จะเลือกลงทุนโครงการใด ถ้าบริษัทมีเงินทุนจำกัดที่จะต้องเลือกลงทุนเพียงโครงการเดียว ตัวอย่างเช่น
บริษัทมี 2 โครงการลงทุนคือ พัฒนาระบบออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์Computer-aided-design (CAD) Systems: CAD-A และ CAD-B ซึ่งมีเงินลงทุนเริ่มแรกเท่ากับคือ 150,000 และมีผลตอบแทน (ระยะเวลาลงทุน = 5ปี) ดังนี้

โครงการ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่5
CAD-A 90,000 60,000 50,000 50,000 50,000
CAD-B 40,000 110,000 25,000 25,000 25,000

ในการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนที่ 2 โครงการเท่ากันคือ 2 ปี ซึ่งในกรณีที่จะต้องเลือกโครงการลงทุนที่มีกระแสเงินสดเข้ามาในปีที่แรกมากกว่า
CAD-A มีผลตอบแทนกลับคืนมาในปีแรกมากกว่า คือ 90,000 (150,000/2= 75,000)
CAD-B มีผลตอบแทนกลับคืนมาในปีแรกเพียง 40,000 ซึ่งคาดว่า CAD-A อยู่ 50,000
ดังนั้น ในตัวอย่างนี้ควรจะตัดสินใจลงทุนในโครงการ CAD-A เนื่องจากมีกระแสเงินสดเข้าในปีแรกมากกว่า CAD-B

สรุป วิธีระยะเวลาคืนทุน เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้การตัดสินใจได้
1. ช่วยควบคุมการกระจายความเสี่ยงด้วยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ Cash Flow ในอนาคต
2. ช่วยลดปัญหาสภาพข้องในการลงทุนในบริษัทให้น้อยที่สุด
3. ช่วยควบคุมความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการล่าสมัย
4. ช่วยควบคุมผลกระทบของเงินลงทุนที่ใช้ในการประเมินผลงาน
กฎการตัดสินใจ: เลือกลงทุนในโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุนที่สั้นที่สุด ทั้งนี้เพราะโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุนสั้นมากเท่าใดก็จะมีความเสี่ยงในการดำเนินงานน้อยมากเท่านั้น
ข้อดี: ของการใช้วิธีระยะเวลาคืนทุน
1. สามารถทำการคำนวณและทำความเข้าใจได้ด้วย
2. ทำให้สามารถลดความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย: ของการใช้วีระยะเวลาต้นทุน
1. เป็นวิธีที่ไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา
2. เป็นวีที่ไม่ได้คำนึงถึงกระแสเงินสดรับสุทธิที่กิจการจะได้รับจากโครงการลงทุน หลังจากพ้นระยะเวลาคืนทุน ซึ่งจริง ๆแล้วกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นภายหลังงวดระยะเวลาคืนทุนนั้น ก็อาจจะมีความสำคัญต่อการพิจารณาความสามารถในการทำกำไร ของโครงการลงทุนนั้นก็ได้

อัตราผลตอบแทนทางบัญชี (Accounting Rate of Return)
เป็นตัวแบบหนึ่งซึ่งไม่คิดอัตราส่วนลด และเป็นวิธีการวัดความสามารถในการทำกำไรของโครงการลงทุนต่างๆ โดยใช้ผลกำไรสุทธิที่จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีเปรียบเทียบกับเงินลงทุน
อัตราผลตอบแทนทางบัญชี = กำไรสุทธิ (Average Income)
(Accounting Rate of Return) เงินลงทุนเริ่มแรกหลังเงินทุนโดยเฉลี่ย
(Original investment or average investment)

เงินลงทุนโดยเฉลี่ย = เงินลงทุนเริ่มแรก + มูลค่าซาก
Average investment 2
= ( I + S)
2


I = Original investment (เงินลงทุนเริ่มแรก)
S = Salvage value (มูลค่าซาก)
ตัวอย่าง: บริษัทมีเงินลงทุนเริ่มแรก = 100,000 และมีระยะเวลาลงทุน 5 ปี มีผลตอบแทน (กระแสเงินสด) กลับคืนมาดังนี้ 30,000 , 30,000 , 40,000 , 30,000 และ 50,000 ไม่มีมูลค่าซาก
กระแสเงินสดทั้งสิ้น (5 ปี) = 180,000
กระแสเงินสดถังเฉลี่ย = 180,000/5 = 36,000
ค่าเสื่อมราคา = 100,000/5 = 20,000
รายได้เฉลี่ย = 36,000 - 20,000 = 16,000
กรณี เงินลงทุนเริ่มแรก:
อัตราผลตอบแทนทางบัญชี = 16,000 = 16%
100,000
กรณี เงินลงทุนโดยเฉลี่ย:
อัตราผลตอบแทนทางบัญชี = 16,000 = 32%
50,000
เงินลงทุนโดยเฉลี่ย = 100,000 + 0 = 50,000
2
กฎการตัดสินใจ : ตามวิธี ARR กิจการควรเลือกลงทุนในโครงการที่มีค่า ARR สูงที่สุด หรือสูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่ถูกกำหนดใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจลงทุนของแต่ละกิจการ
ข้อดี :
1. เป็นวิธีที่คำนวณและทำความเข้าใจได้ง่าย
2. สะดวกในการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ เนื่องจากใช้กำไรสุทธิทางบัญชี
ข้อเสีย :
1. เป็นวิธีทีไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา
2. ข้อมูลทางบัญชีใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจน้อยกว่าข้อมูลของกระแสเงินสด

Discounting Models: The Net Present Value Method.
การคิดอัตราส่วนลดหรือวิธีมูลคาปัจจุบันสุทธิเป็นตัวแบบที่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา โดยจะคิดอัตราส่วนลดของกระแสเงินสดเข้า และกระแสเงินสดออก ซึ่งจะแบ่งเป็นใช้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Internal rate of return : IRR)


มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)
เป็นการใช้หาความแตกต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้าและกระแสเงินสดออก
NPV = (CFt / (1+I)t - 
=  CFt dft  - 
= P - I
หรือ
I = มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน (เงินลงทุนเริ่มแรก)
CFt = กระแสเงินสดในแต่ละปี
N = อายุของโครงการ
I = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
t = เวลา (ปี)
P = มูลค่าปัจจุบันตลอดอายุของโครงการ
dft = 1/(1+I) t , the discount factor
กฎการตัดสินใจ: ถ้า NPV มีค่าเป็นบวก กิจการก็ควรที่จะยอมรับการลงทุนเป็นโครงการนั้น ๆ แต่ถ้า NPV มีค่าติดลบกิจการควรปฏิเสธการลงทุน
ข้อดี:
1. วิธี NPV เป็นวิธีที่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
2. เป็นวิธีที่คำนวณได้ง่าย
ข้อเสีย:
เป็นวิธีที่ต้องคำนึงถึงข้อมูลการพยากรณ์ กระแสเงินสดในอนาคตระยะยาว จึงอาจจะมีความผิดพลาดได้ง่ายในการประมาณข้อมูล

ตัวอย่าง:
Brannon Company มีความต้องการจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนปีละ 300,000 อายุของโครงการ = 5ปี และมีต้นทุนอุปกรณ์ = 320,000 เมื่อสิ้นสุดโครงการคาดว่าจะขายอุปกรณ์นี้ได้ 40,000 และทำให้เงินทุนหมุนเวียนเป็นเงิน 40,000 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังและลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานประมาณ 180,000 อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ = 12% ถามว่าบริษัทควรจะลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ โดย
1. หากระแสเงินสดในแต่ละปี
2. หา NPV ของโครงการ

* Exhibit 18.2 Cash Flows and NPV Analysis
STEP 1. CASH-FLOW IDENTIFICATION
YEAR ITEM CASH FLOW
0 Equipment $(320,000)
Working Capital (40,000)
Total $ (360,000)
1-4 Revenues 300,000
Operating expenses (180,000)
Total $120,000
5 Revenues $300,000
Operating expenses (180,000)
Salvage 40,000
Recovery of working capital 40,000
Total $200,000

STEP 2A. NPV ANALYSIS
YEAR CASH FLOW DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
0
1
2
3
4
5
Net present value $(360,000)
120,000
120,000
120,000
120,000
200,000 1.000
0.893
0.797
0.712
0.636
0.567 $(360,000)
107,160
95,640
85,440
76,320
113,400
$117,960

STEP 2B. NPV ANALYSIS
YEAR CASH FLOW DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
0
1-4
5
Net present value $(360,000)
120,000
200,000 1.000
3.037
0.567 $(360,000)
364,440
113,400
$117,840
อัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุน (Internal Rate of Return)
อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เป็นอีกตัวแบบที่ใช้ในการคิดอัตราส่วนลด
กฎการตัดสินใจ: ควรยอมรับโครงการลงทุนถ้า IRR มีค่าเกินกว่าต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต้องการ
กรณีกระแสเงินสดเท่ากันทุกปี
ตัวอย่าง:
โรงพยาบาลหนึ่งมีโอกาสจะลงทุนเกี่ยวกับระบบอัตราซาวด์ใหม่ด้วยเงินทุน 120,000 ซึ่งจะทำให้มีกระแสเงินสดเข้าปีสุทธิ 49,950 เมื่อสิ้นปีที่ 3
I = CF (df)
เมื่อ df = I / CF
= เงินลงทุนเริ่มแรก
กระแสเงินสดแต่ละปี
= 120,000
49,950
(ค่าที่ได้เปิดหาค่าใกล้เคียง จากตาราง 18.B –2 (Present Value of an Annuity)
IRR = 12%
กรณี กระแสเงินสดไม่สม่ำเสมอ (ในแต่ละปีไม่เท่ากัน)
ตัวอย่าง: โครงการลงทุน 10,000 ในระบบการผลิตจะช่วยประหยัดได้ 6,000 และ 7,200 สำหรับโครงการ 2 ปี ดังนั้น IRR จะเท่ากับอัตราที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของทั้ง 2 ปี = 10,000
P = 6,000/(1+I) + 7,200/(1+I)2
= 10,000
ให้สมมติค่าของอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 18% (เปิดตาราง 18.B – 1)
discount factor ปีที่1 = 0.847
discount factor ปีที่ 2 = 0.718

ดังนั้น P = (0.847 x 6,000) + (0.718 x7,200)
= 10,252
NPV = 10,252 – 10,000 = 252
มูลค่าปัจจุบันของอัตรา IRR = 18% สูงกว่า 10,000 แสดงว่าเลือกอัตราต่ำเกินไปเพราะอัตราที่สูงกว่า 18% (ในตาราง) คือ 20%
P = (0.833 x 6,000) + (0.694 x 7,200)
= 9,995
NPV = 9,995 - 10,000 = -5
แสดงว่า อัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบัน =10,000 อยู่ระหว่าง 18% - 20%
คำนวณหา IRR โดยเปรียบเทียบ NPV ระหว่าง 18% กับ 20%
18% = 252
ห่างกัน 257 = 2%
20% = -5
IRR = 18% + 252 x 2%
257
= 18% + 1.96%
= 19.96%


อภิปรายถึงบทบาทหน้าที่และมูลค่าการตรวจสอบในภายหลัง ( Discuss the role and value of post audits)
การตรวจสอบภายหลังโครงการเงินทุน (Post audit of Capital Projects)
ส่วน (Element) ที่เป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการเงินลงทุนที่ต้องทำการวิเคราะห์ติดตามโครงการเงินทุนในทันที่ที่มีการดำเนินการ การวิเคราะห์เช่นว่านี้เรียกว่า การตรวจสอบในภายหลัง (Post audit) การตรวจสอบในภายหลังเป็นการเปรียบเทียบผลกำไรจริงกับผลกำไรประเมิน และต้นทุนการดำเนินงานจริงกับต้นทุนการดำเนินงานประเมิน คือการประเมินค่ารายได้ทั้งหมดของการลงทุนและข้อเสนอเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องหากจำเป็น กรณีของโลกแห่งความเป็นจริงได้อธิบายถึงผลประโยชน์ของกิจกรรมการตรวจสอบในภายหลัง
บริษัท Honley Medical Company: การใช้การแสดงด้วยภาพ (An illustrative application)
Allen Manesfield และ Jenny Winters กำลังปรึกษาหรือกันเกี่ยวกับปัญหาที่ยังคั่งค้างและยังเป็นที่ข้องใจที่เกิดขึ้นในกระบวนการการผลิตเข็มที่ใช้ต่อเส้นเลือดใหญ่ (Intravenous needles) ทั้ง Allen และ Jenny ได้รับการว่าจ้างงานโดยบริษัท Honley Medical ซึ่งเป็นบริษัทผู้ชำนาญการในการผลิตเวชภัณฑ์ (Medical products) และมีฝ่ายปฏิบัติอยู่ 3 ฝ่าย ด้วยกันคือ ฝ่ายเวชภัณฑ์เข็มที่ใช้ต่อเส้นเลือดใหญ่ ฝ่ายติดตามดูแลรักษากรณีที่สำคัญ ๆ (Critical Case) และฝ่ายเวชภัณฑ์พิเศษ ทั้ง Allen และ Jenny ทำงานอยู่กับฝ่ายเวชภัณฑ์เข็มที่ใช้ต่อเส้นเลือดใหญ่ (IV) Allen เป็นวิศวกรอาวุโสฝ่ายผลิต และ Jenny เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด
ฝ่ายเวชภัณฑ์ได้ดำเนินการผลิตเข็มที่ใช้ต่อเส้นเลือดใหญ่ขนาดต่าง ๆ 5 ขนาด ด้วยกัน ขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการผลิต ตัวเวชภัณฑ์เข็มที่ใช้ต่อจะถูกสอดเข้าไปในhub ที่เป็นศูนย์กลางทำด้วยพลาสติกและยึดติดด้วยกาว (Epoxy glue) การที่ Jenny ใช้กาว Epoxy ยึดติดเข็มไว้ คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างมากมายกับการดำเนินงานของฝ่าย และในหลายกรณีด้วยกัน กาว Epoxy ที่ใช้ไม่ได้ยึดติดเข็มไว้ได้อย่างถูกต้อง ทำให้มีการส่งและตีกลับเข็มที่จำหน่ายเป็นจำนวนมาก และทางฝ่ายยังได้รับคำร้องเรียนจากลูกค้าจำนวนมากอีกด้วย การดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง จำเป็นจะต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับการขายของบริษัท หลังจากที่ได้ปรึกษาหากันและวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มีการเสนอแนะการเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า (induction welding) แทนการยึดติดด้วยกาว ในการเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า เข็มจะถูกสอดเข้าไปที่ศูนย์กลาง และเครื่องกำเนิด RF ถูกนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนกับตัวเข็ม เครื่องกำเนิด RF ทำงานตามหลักการเดียวกันกับการทำงานของเตาไมโครเวฟ เมื่อเข็มได้รับความร้อน พลาสติกจะหลอมละลายและเข็มก็จะถูกยึดติดแน่นไว้ด้วยพลาสติก
การหันมาใช้วิธีการเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า ต้องการการลงทุนในการจัดหาเครื่องกำเนิน RF และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องอื่น การลงทุนต้องได้รับการพิจารณาจากฝ่ายผลิตเข็มที่ใช้ต่อเส้นเลือดใหญ่ บนพื้นฐานของการประหยัดสัมพันธ์กับระบบใหม่ที่นำมาใช้ การเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า ทำให้ลดต้นทุนในเรื่องของใช้วัสดุโดยตรง และสามารถลดความต้องการในการซื้อและใช้กาว Epoxy ลงได้ มีการคาดเดาถึงการประหยัดต้นทุนในการจ้างแรงงานด้วยเหมือนกัน ทั้งนี้ ก็เพราะว่า กระบวนการเชื่อมเป็นไปโดยอัตโนมัติเป็นส่วนมาก นอกเหนือจากการประหยัดแล้ว ยังหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดในแต่ละวัน และช่วยลดจำนวนเวชภัณฑ์ที่ถูกตีกลับอีกด้วย Allen ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อย่างเป็นทางการ ที่แสดงให้เห็นว่า ระบบการเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบการใช้กาวยึดติดเข็มเอาไว้ และการจัดหาระบบการเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้ายังได้รับอนุมัติจากทางสำนักงานใหญ่อีกด้วย
หนึ่งปีต่อมา (One Year Later)
Jenny: “Allen, ฉันค่อนข้างจะพอใจกับการเชื่อมเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้าสำหรับยึดติดเข็มที่ใช้ต่อเส้นเลือดใหญ่ ตั้งแต่ปีที่นำเอากระบวนการใหม่มาใช้ เราไม่ได้รับคำร้องเรียนใด ๆ จากลูกค้าเลย เข็มถูกยึดติดไว้กับเส้นเลือดใหญ่ได้อย่างแน่นเหนียว”
Allen: “ฉันหวังว่า ประสบการณ์ที่ดีที่ได้รับนั้นเป็นความจริงสำหรับการดำเนินงานในแง่ต่าง ๆอื่นอีกด้วย และโชคดีที่ การนำเอากระบวนการมาปฏิบัติไม่คอบคุมถึงบางเรื่องที่เข้มงวดและเป็นปัญหาที่มีราคาแพง ซึ่งโดยความเรียบง่ายแล้ว ฉันไม่ได้คาดหวังแต่อย่างใด และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ฝ่ายตรวจสอบภายในเพิ่งจะดำเนินการตรวจสอบในภายหลังเสร็จสิ้นลง และขณะนี้ เท้าของฉันเหมือนยืนอยู่บนกองไฟ”
Jenny: “นั้นแย่เอามาก ๆ มีปัญหาอะไรหรือ?”
Allen: “คุณหมายถึงปัญหาหรือ ถ้าอย่างนั้น ฉันจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาซัก 2-3 เรื่อง ปัญหาแรกคือ เครื่องกำเนิด RF เข้าไปรบกวนการทำงานของอุปกรณ์เครื่องมืออื่น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และเรายังพบอีกว่า ผู้รับผิดชอบในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอุปกรณ์ โดยทั่วไปไม่ทราบว่า จะดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ใหม่ ๆ ได้อย่างไร ขณะนี้ เราประสบกับปัญหาความจำเป็นในการที่จะต้องคิดริเริ่มโครงการฝึกอบรม เพื่อยกระดับทักษะฝีมือการทำงานของบุคลากรด้านการบำรุงรักษาเครื่องอุปกรณ์ให้สูงขึ้น การยกระดักทักษะฝีมือการทำงานให้สูงขึ้นยังแสดงนัยของค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นด้วย แม้ว่า กระบวนการยึดติดเข็มของเครื่องกำเนิด RF จะดูยุ่งเหยิงบ้างเล็กน้อยก็จริง แต่มันเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก บุคลากรด้านการผลิตได้ร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ผู้ตรวจสอบภายในได้รับทราบแล้ว พวกเขาตระหนักดีว่า กระบวนการง่าย ๆ แม้จะยุ่งเหยิงอยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะนี้ ความต้องการผลิตภัณฑ์กำลังเพิ่มสูงขึ้นโดยการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว (leaps and bounds)
Jenny: ผู้ตรวจสอบภายในได้ข้อสรุปอะไรบ้าง?
Allen: พวกเขาสังเกตพบว่า มาตรการประหยัดมากมายที่คาดคิดเอาไว้ได้เกิดขึ้นจริง แต่ต้นทุนที่มีนัยสำคัญไม่ได้พยากรณ์ไว้ให้เห็นจริง จากปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน พวกเขาจึงได้เสนอแนะว่า ฉันได้พิจารณาดูปัญหาด้วยความรอบคอบระมัดระวังถึงความเป็นไปได้ที่จะกลับไปใช้การยึดติดเข็มด้วยกาว Epoxy พวกเขาชี้ให้เห็นว่า การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) โดยการใช้ข้อมูลจริงเป็นผลดีที่เอื้อต่อการนำกระบวนการมาใช้ จากการขยายการผลิต การนำเครื่องกำเนิด RF มาใช้เพิ่มเติม และอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการกรอง บวกกับความจำเป็นด้านการฝึกอบรม ไม่ค่อยเป็นที่ดึงดูดใจเหมือนการหันกลับไปใช้วิธีการยึดติดด้วยกาว ซึ่งข้อสรุปนี้เป็นการเสริมแรงด้วยความจริงที่ว่า กระบวนการยึดติดเข็มด้วยกาวเป็นกระบวนการที่ง่ายกว่า และโดยการสรุปของผู้ตรวจสอบภายในที่ว่า การผสมของกาวเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นในขั้นตอนแรก
Jenny: “ดีแล้ว Allen จริง ๆ แล้ว คุณไม่ควรที่จะปรักปรำตัวเองเลย ปัญหาจริง ๆ นั้น เกิดขึ้นกับคุณและคุณก็ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว มันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดและต้นทุนของกระบวนการใหม่ที่ซ่อนเร้นอยู่”
Allen: “โชคไม่ค่อยดีนัก ที่ผู้ตรวจสอบภายในไม่เห็นด้วย ที่จริงแล้ว ไม่ว่า ฉันจะทำหรือไม่ก็ตาม มันเป็นไปได้ที่ฉันจะกระโดดไปเร็วเกินไป และในอนาคตข้างหน้า ฉันตั้งใจที่จะคิดทบทวนโครงการใหม่โดยตลอด ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบมากกว่านี้

ประโยชน์ของการตรวจสอบในภายหลัง (Benefits of a Post audit)
กรณีการตัดสินใจยึดติดด้วยการใช้ RF ผลกำไรเงินลงทุนที่ประเมินบางอย่างไม่ก่อเกิดในทางวัตถุ ข้อร้องเรียนจากกลูกค้าที่ลดลง ปริมาณสินค้าตีกลับและส่งคืนน้อยกว่า การใช้แรงงานโดยตรงและต้นทุนค่าวัสดุลดลง อย่างไรก็ตาม การลงทุนโตขึ้นกว่าเดิมจากที่คาดการณ์ไว้ เพราะว่า เครื่องอุปกรณ์การกรองเป็นสิ่งจำเป็น และต้นทุนการดำเนินการจริงสูงมากกว่า เพราะต้นทุนในการซ่อมแซมบำรุงรักษาเพิ่มสูงขึ้นและความยุ่งยากของกระบวนการที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยภาพรวมแล้ว ผู้ตรวจสอบภายในได้สรุปไว้ว่า การลงทุนเป็นการตัดสินใจที่ไม่สู้จะดีนัก การปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความถูกต้องที่พวกเขาได้เสนอแนะเป็นเครื่องทำลายระบบใหม่และหวนกลับไปใช้วิธีการยึดติดด้วยกาว Epoxy
บริษัททั้งหลายที่ดำเนินการตรวจสอบในภายหลัง (Post audit) ของโครงการเงินลงทุนประสพกับผลกำไรอย่างมากมาย ประการแรก โดยการประเมินค่าการทำกำไร การตรวจสอบในภายหลังเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ทรัพยากรได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ถ้าโครงการดำเนินงานไปได้ด้วยดี การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความถูกต้องอาจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการดำเนินงานหรือทำให้โครงการยกเลิกไป
ประโยชน์ประกาศที่สองของการตรวจสอบในภายหลังคือ ผลกระทบของการตรวจสอบเอง ที่เกิดขึ้นกับพฤติกรรมของบรรดาผู้จัดการ (Managers) ถ้าบรรดาผู้จัดการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ดีต่อผลลัพธ์ที่ได้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับเงินลงทุน ดูเหมือนพวกเขาจะตัดสินใจเช่นนั้น ที่ก่อเกิดผลประโยชน์สูงสุดให้แก่บริษัท นอกจากนั้น การตรวจสอบในภายหลังยังเป็นการจัดเตรียมข้อมูลย้อนกลับ (feed back) ไปยังผู้จัดการ ที่น่าจะส่งผลทำให้การตัดสินใจในอนาคตมีการปรับปรุงที่ดีขึ้น จงพิจารณาดูว่า ปฏิกิริยาของ Allen ที่มีต่อการตรวจสอบในภายหลังของกระบวนการยึดติดด้วย RF แน่นอนที่สุด เราจะคาดการณ์ได้ว่า เขาจะระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นโดยตลอดในการจัดเตรียมข้อเสนอแนะสำหรับการลงทุนในอนาคต และในอนาคต เป็นไปได้ที่ Allen จะพิจารณาแนวทางเลือกที่มีมากกว่าหนึ่งแนวทาง เช่น การผสมกาว Epoxy อัตโนมัติ แนวทางเลือกเหล่านั้นก็ต้องถูกนำมาพิจารณาด้วยเหมือนกัน บางทีเขาจะต้องมีการตื่นตัวเป็นพิเศษต่อความน่าจะเป็นของต้นทุนที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น ความต้องการด้านการฝึกอบรมที่เพิ่มขึ้นสำหรับกระบวนการใหม่ที่นำมาใช้ในการดำเนินการ
กรณีนี้ ยังเปิดเผยถึงการตรวจสอบในภายหลังที่ดำเนินการอยู่โดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน โดยทั่วไปแล้ว จะได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่มากกว่า ถ้าการตรวจสอบกระทำโดยฝ่ายตรวจสอบอิสระ เนื่องจากต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้แน่ใจถึงความมีอิสระให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้สำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน โดยปกตินั้น บุคคลกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับภารกิจในการตรวจสอบภายใน
อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบในภายหลัง เป็นเรื่องที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง นอกจากนั้น แม้ว่า พวกเขาจะสามารถทำกำไรได้อย่างมากมาย แต่พวกเขากังยังมีขีดจำกัด ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ความจริงที่ว่า ข้อ สันนิฐานคือตัวขับเคลื่อนการวิเคราะห์ดั้งเดิม ที่บ่อยครั้งอาจหมดอายุและล้าสมัยโดยการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่เป็นจริง การพิจารณาอย่างรอบคอบจะต้องทำให้เหมาะเจาะกับสิ่งที่เป็นอยู่ของความไม่น่าเป็นไปได้ของการพยากรณ์ที่มองเห็นได้ล่วงหน้าในทุกภาคส่วนของการสิ้นสุดที่มีความเป็นไปได้
โครงการที่มีความเกี่ยวข้องกัน (Mutually Exclusive Projects)
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์การตัดสินใจด้วยวิธีของ NPV และ IRR ในทางคณิตศาสตร์แล้วทั้ง 2 วิธีจะให้ข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจที่เหมือนกัน นั่นคือโครงการใดที่มี NPV มากกว่าศูนย์ย่อมหมายถึงค่า IRR จะมีค่าสูงเท่าต้นทุนของเงินทุนด้วย สำหรับโครงการที่มีความเกี่ยวข้องกันนั้นจำเป็นจะต้องจัดเรียงลำดับความน่าสนใจก่อนหลัง เพื่อให้เลือกโครงการที่ดีที่สุดเพียงโครงการเดียว ในบางครั้งเกณฑ์ NPV และ IRR อาจให้ข้อสรุปการตัดสินใจที่ขัดแย้งกัน โดยเข้ายัดเกณฑ์ NPV อาจตัดสินใจเลือกโครงการหนึ่ง แต่ถ้าใช้เกณฑ์ IRR อาจตัดสินใจเลือกอีกโครงการหนึ่งได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากลักษณะของโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่มี
1. โครงการลงทุนนั้นจะต้องมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน
2. โครงการลงทุนนั้นจะต้องมีขนาดของเงินลงทุนที่แตกต่างกัน
3. ช่วงระยะเวลาของกระแสเงินสดรับ – จ่าย มีความแตกต่างกันในแต่ละโครงการ
โดยปกติทั่วไป ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ เช่นนี้เรามักจะใช้ NPV เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจเลือกโครงการเพราะการใช้เทคนิค NPVนั้นเป็นการคิดลด กระแสเงินสดโดยใช้อัตราต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ไว้เป็นข้อมูลที่สามารถกำหนดได้ใกล้ความจริงมากที่สุด ในขณะที่เทคนิค IRR จะตัดสินใจลงทุนโดยใช้อัตราผลตอบแทน ที่จะได้รับจากการลงทุนในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นเป็นการยากที่จะกำหนด IRR ที่น่าพอใจได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่าง: โครงการที่เกี่ยวเนื่องกันของบริษัท Bintley Corporation ในเรื่องของการพัฒนาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งจะมีการพัฒนาระบบควบคุมมลภาวะซึ่งกระบวนการผลิตทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นก๊าซและเศษของเสียที่เป็นของเหลว 2 ระบบ ดังนี้คือ

Design A Design B
Annual revenues $179,460 $239,280
Annual operating costs 119,460 169,280
Equipment (purchased before Year 1) 180,000 210,000
Project life 5 years 5 years

Exhibit 18.3 Cash-Flow Pattern and NPV Analysis: Designs A and B
CASH FLOW PATTERN
YEAR DESIGN A DESIGN B
0
1
2
3
4
5 $(180,000)
60,000
60,000
60,000
60,000
60,000 $(210,000)
70,000
70,000
70,000
70,000
70,000




Exhibit 18.3 Concluded
DESIGN A: NPV ANALYSIS
YEAR CASH FLOW DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
0
1-5
Net present value $(180,000)
60,000 1.000
3.305 $(180,000)
216,300
$36,300
IRR ANALYSIS
Discount factor = Initial investment
Annual cash flow
= $ 180,000
$60,000
= 3.000
From Exhibit 18B – 2 ,df = 3.000 for five years implies that IRR = 20%

DESIGN B: NPV ANALYSIS
YEAR CASH FLOW DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
0
1-5
Net present value $(210,000)
70,000 1.000
3.605
$(210,000)
252,350
$42,350

IRR ANALYSIS
Discount factor = Initial investment
Annual cash flow
= $ 210,000
$70,000
= 3.000
From Exhibit 18B – 2 ,df = 3.000 for five years implies that IRR = 20%

ถ้าสมมติว่าตัดสินใจแบบ NPV ในการตัดสินใจก็จะเลือก DESIGN B แต่ถ้าใช้ IRR จะตัดสินใจไม่ได้เนื่องจาก IRR มีค่าเท่ากัน
ในการตัดสินใจส่วนใหญ่ นักวิชาการจึงถือว่าวิธี NPV เป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการประเภท mutually exclusive project

การคำนวณและการปรับกระแสเงินสด
Computation and adjustment of cash flows
ในการคำนวณและการปรับกระแสเงินสดเป็นขั้นตอนสำคัญของการพิจารณาขั้นแรกของแต่ละโครงการ ซึ่งในความเป็นจริงการคำนวณกระแสเงินสดเป็นกระบวนการสำคัญของการลงทุน ในการตัดสินใจลงทุนนั้นจะต้องดูความแตกต่างด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเภท และภาวะเงินเฟ้อด้านสิ่งแวดล้อม ตลาดการเงิน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของเงินทุนจะต้องบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย ซึ่งในส่วนประกอบ ของต้นทุนของเงินทุนจะมี 2 องค์ประกอบ คือ
1. อัตราที่แท้จริง
2. อัตราภาวะเงินเฟ้อ (นักลงทุนมีความต้องการผลตอบแทนที่ต้องการที่สูงกว่า)

กระแสเงินสดขั้นต้นให้เป็นกระแสเงินสดหลังภาษี
ถ้าบวกภาวะเงินเฟ้อเข้าไปในกระแสเงินสดขั้นต้นจะทำให้การพยากรณ์กระแสเงินสดตามความต้องการได้ ซึ่งจะต้องนำกระแสเงินสดนั้นไปหักภาษี และจะส่งผลกระทบต่อ เงินลงทุนเริ่มแรก และกระแสเงินสดเข้าตามอายุของโครงการ
Exhibit 18.4 The effects of inflation of capital Investment
WITHOUT INFLATIONARY ADJUSTMENT
YEAR CASH FLOW DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
0
1-2
Net present value Bs.(5,000,000)
2,900,000 1.000
1.528 Bs.(5,000,000)
4,431,200
Bs.(568,800)

WITH INFLATIONARY ADJUSTMENT
YEAR CASH FLOW SIDCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
0
1
2
Net present value Bs.(5,000,000)
3,335,000
3,835,200 1.000
0.833
0.694 Bs.(5,000,000)
2,778,055
2,661,664
Bs.439,719

DISPOSITION OF OLD MACHINES
Model Book Value Sale Price
CNC-11 $200,000 $260,000
CNC-12 500,000 400,000

ACQUISITION OF NEW CNC
Purchase cost $2,500,000
Freight 20,000
Installation 200,000
Additional working capital 180,000
Total $2,900,000

ในเรื่องของการหาเงินลงทุนสุทธิจะสามารถคำนวณรายได้สุทธิจากยอดขายสามารถคำนวณได้จากยอดขาย โดยที่เอาเครื่องจักรเก่า ลบออกจากยอดเครื่องจักรใหม่ ซึ่งจะช่วยประหยัดในเรื่องของภาษีได้ ซึ่งกระแสเงินสดเข้าจะเท่ากับภาษีที่ประหยัดได้นั้นเอง
Exhibit 18.5 Tax Effects of the Sale of CNC-11 and CNC-12
ASSET GAIN (LOSS)
CNC-11 $60,000
CNC-12 (100,000)
Net gain (loss) $(40,000)
Tax rate X 0.40
Tax savings $(16,000)

กระแสเงินสดหลังภาษีอายุของโครงการ
ผู้จัดการจะสามารถคำนวณหากระแสเงินสดหลังภาษีแต่ละปีได้ โดยคาดหวังว่าจะสูงกว่ารายได้ปกติของโครงการตามอายุของโครงการ
Exhibit 18.6 Computation of Operating Cash Flows: Decomposition Terms
After-tax cash revenues = (1-Tax rate) x Cash revenues
After-tax cash expenses = (1-Tax rate) x Cash expenses
Tax savings, noncash expenses = Tax rate x Noncash expenses

ภาษีที่สามารถประหยัดได้ และค่าเสื่อมราคาจะนำมาบวกกลับจากกำไรสุทธิ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการจ่ายเงินสด ดังนั้นจึงต้องนำมาบวกลับคืนเพื่อให้ได้กระแสเงินสดสุทธิที่แท้จริง

Exhibit 18.7 IIIustratuion of the Spreadsheet Approach
YEAR (1-t)R (1-f)C INC CF
1.
2.
3.
4. $360,000
360,000
360,000
360,000 $(150,000)
(150,000)
(150,000)
(150,000) $80,000
80,000
80,000
80,000 $290,000
290,000
290,000
290,000

Exhibit 18.9 Value of Accelerated Methods IIIustrated (ตัวอย่างในการคำนวณ)
STRAIGHT LINE METHOD
YEAR DEPRECIATION TAX RATE TAX SAVINGS DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
1
2
3
4
5
6
Net present value $2,000
4,000
4,000
4,000
4,000
2,000 0.40
0.40
0.40
0.40
0.40
0.40
$800.00
1,600.00
1,600.00
1,600.00
1,600.00
800.00 0.909
0.826
0.751
0.683
0.621
0.564
$727.20
1,321.60
1,201.60
1,092.80
993.60
451.20
$5,788.00

STRAIGHT LINE METHOD
YEAR DEPRECIATION TAX RATE TAX SAVINGS DISCOUNT FACTOR PRESENT VALUE
1
2
3
4
5
6
Net present value $4,000
6,400
3,840
2,304
2,304
1,152
0.40
0.40
0.40
0.40
0.40
0.40
$1,600.00
2,560.00
1,536.00
921.60
921.60
460.80 0.909
0.826
0.751
0.683
0.621
0.564
$1,454.40
2,114.56
1,153.54
629.45
572.31
259.89
$6,184.15
Exhibit 18.10 Investment Data; Direct, Intangible, and indirect Benefits
FMS STATUS QUO
Investment (current outlay): $10,000,000 -
Direct costs 8,000,000 -
Software, engineering $18,000,000 -
Total current outlay $5,000,000 $1,000,000
Net after-tax cash flows 1,000,000 N/a
Less: After-tax shads - $4,000,000 N/a
Incremental bend

ผลต่างจากการประมาณการกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

INCREMENTAL BENEFIT EXPLAINED
Direct benefits:
Direct labor $1,500,000
Scrap reduction 500,000
Setups 200,000 |$2,200,000
Intangible benefits (quality savings):
Rework $200,000
Warranties 400,000
Maintenance of competitive position 1,000,000 1,600,000
Indirect benefits:
Production scheduling $110,000
Payroll 90,000 200,000
Total $4,000,000

Exhibit 18A.1 Present Value of an Uneven Series of Cash Flow
YEAR CASH FLOW DISOUNT FACTOR PRESENT VALUE
1
2
3 $110.00
121.00
133.10 0.909
0.826
0.751 $100.00
100.00
100.00
$300.00

YEAR CASH FLOW DISOUNT FACTOR PRESENT VALUE
1
2
3
$100
100
100
0.909
0.826
0.751
2.486 $90.90
82.60
75.10
$248.60

หนังสืออ้างอิง

1. พรรณุภา ธุวนิมิตกุล. การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2 ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , กรุงเทพฯ. 2549
2. ดวงมณี โกมารทัต และคณะ. การบัญชีบริหาร. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ. 2547
3. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธุ์. การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ. 2549
4. วันฤดี สุขสงวน และคณะ .การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 2545

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น